ประวัติศาสตร์การเสียดินแดนไทย ๑๔ ครั้ง เด็กรุ่นใหม่ควรศึกษาไว้เป็นบทเรียน
แผ่นดินไทย รักษาไว้ให้ลูกหลาน
ลายพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๖ ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงเสนาบดีที่ประชุมกันอยู่บนเรือ พระที่นั่งมหาจักรี
-:- ประวัติศาสตร์การเสียดินแดนของประเทศไทย-:-
ครั้งที่ ๑ เสียเกาะหมาก (ปีนัง) ให้กับประเทศอังกฤษ เมื่อ ๑๑ สิงหาคม ๒๓๒๙ พื้นที่ ๓๗๕ ตร.กม. ในสมัย ร.๑ เกิด จาก พระยาไทรบุรี ให้อังกฤษเช่าเกาะหมาก เพื่อหวังจะขอให้อังกฤษคุ้มครองเกาะหมากจากกองทัพของกรมพระราชวังบวรสถาน มงคล ซึ่งยกทัพมาจัดระเบียบหัวเมืองปักษ์ใต้ ในที่สุดอังกฤษก็ยึดเอาไป
ครั้งที่ ๒ เสียมะริด ทวาย ตะนาวศรี ให้กับพม่า เมื่อ ๑๖ มกราคม ๒๓๓๖ พื้นที่ ๕๕,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัย ร.๑ แต่เดิมเป็นของไทยครั้งสมัยสุโขทัย มังสัจจา เจ้าเมืองทวายเป็นไส้ศึกให้พม่า รัชกาลที่ ๑ ไม่สามารถตีคืนจากพม่าได้ ประกอบกับชาวเมืองทวายไม่พอใจกองทัพไทยที่เข้ายึดครอง จึงตกเป็นของพม่าไป
ครั้งที่ ๓ เสียบันทายมาศ (ฮาเตียน) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๓ ในสมัยรัชกาลที่ ๒
ครั้งที่ ๔ เสียแสนหวี เมืองพง เชียงตุง ให้กับพม่าเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๘ พื้นที่ ๖๒,๐๐๐ ตร.กม.ในสมัย รัชกาลที่ ๓ แต่เดิมเราได้ดินแดนนี้มาในสมัยรัชกาลที่ ๑ โดยพระเจ้ากาวิละ ยกทัพไปตีมาขึ้นอยู่กับไทยได้ ๒๐ ปี เนื่องจากเป็นดินแดนที่อยู่ไกล ประกอบกับเกิดกบฏเจ้าอนุเวียงจันทร์และเกิดกบฏทางหัวเมืองปักษ์ใต้ (กลันตัน ไทรบุรี) ไทยจึงห่วงหน้าพะวงหลัง ไม่มีกำลังใจจะยึดครอง หลังจากนั้นพม่าเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เชียงตุงก็เป็นของอังกฤษโดยสิ้นเชิง
ครั้งที่ ๕ เสียรัฐเปรัค ให้กับอังกฤษเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๙ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นการสูญเสีย ที่ทำร้ายจิตใจ คนไทยทั้งชาติ เพราะเป็นการสูญที่ห่างจากครั้งก่อนไม่ถึง ๑ ปี
ครั้งที่ ๖ เสียสิบสองปันนา ให้กับจีนเมื่อ ๑ พฤษภาคม ๒๓๙๓ พื้นที่ ๙๐,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นดินแดนในยูนานตอนใต้ของประเทศจีน เมืองเชียงรุ้งเป็นเมือง หลวงของไทยสมัยรัชกาลที่ ๑ ต่อมาเกิดการแย่งชิงราชสมบัติกันเอง แสนหวีฟ้า มหาอุปราชหนีลงมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้เกณฑ์ทัพเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ไปตีเมืองเชียงตุง (ต้องตีเมืองเชียงตุงให้ได้ก่อนจึงจะได้เชียงรุ้ง) แต่ไม่สำเร็จเพราะไม่พร้อมเพรียงกัน มาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้ให้กรมหลวงลวษาธิราชสนิท (ต้นตระกูลสนิทวงศ์) ยกทัพไปตีเชียงตุงเป็นครั้งที่ ๒ แต่ไม่สำเร็จจึงต้องเสียให้จีนไป
ครั้งที่ ๗ เสียเขมรและเกาะ ๖ เกาะ ให้กับฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๑๐ พื้นที่ ๑๒๔,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัย ร.๔ ฝรั่งเศสบังคับให้เขมรทำสัญญารับความคุ้มครอง จากฝรั่งเศส หลังจากนั้นได้ดำเนินการทางการฑูตกับไทย ขอให้มีการปักปันเขตแดน เขมรกับญวน แต่กลับตกลงกันไม่ได้ ขณะนั้นพระปิ่นเกล้า แม่ทัพเรือสวรรคต ไทยจึงอ่อนแอ ฝรั่งเศสจึงฉวยโอกาสบังคับทำสัญญารับรองความอารักขาจาก ฝรั่งเศสต่อเขมร ในช่วงนี้เอง อังกฤษกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญากันเมื่อ ๑๕ มกราคม ๒๔๓๘ โดยตกลงกันให้ไทยเป็นรัฐกันชน ประกอบกับ การดำเนินนโยบายของ ร.๕ ที่ไปประพาสยุโรปถึง ๒ ครั้ง ทำให้อังกฤษ เยอรมัน รัสเซียเห็นใจไทย ฝรังเศสจึงยึดดินแดนไป
ครั้งที่ ๘ เสียสิบสองจุไทย (เมืองไล เมืองเชียงค้อ) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ ๒๒ ธันวาคม ๒๔๓๑ พื้นที่ ๘๗,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัย รัชกาลที่ ๕ พวกฮ่อ ก่อกบฏ ทางฝ่ายไทยจัด กำลังไปปราบ ๒ กองทัพ แต่ปฏิบัติเป็นอิสระแก่กัน อีกทั้งแม่ทัพทั้งสองไม่ถูกกัน จึงเป็นโอกาสให้ฝรั่งเศสส่งทหารเข้าเมืองไล โดยอ้างว่า มาช่วยไทยปราบฮ่อ แต่หลัง จากปราบได้แล้ว ก็ไม่ยอมยกทัพกลับ อีกทั้งไทยก็ไม่ได้จัดกำลังไว้ยึดครองอีกด้วย จนในที่สุด ไทยกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญากันที่เมืองแถง (เบียนฟู) ยอมให้ฝรั่งเศสรักษา เมืองไลและเมืองเชียงค้อ
ครั้งที่ ๙ เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน (5 เมืองเงี้ยว และ 13 เมืองกะเหรี่ยง) ให้กับประเทศอังกฤษในสมัย รัชกาลที่ ๕ เมื่อ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2435 เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ทางด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจและทรัพยากร อันอุดม ด้วยดินแดนผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ยิ่ง
ครั้งที่ ๑๐ เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (อาณาจักรล้านช้าง หรือประเทศลาว) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ ๓ ตุลาคม ๒๔๓๖ พื้นที่ ๑๔๓,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นของไทยมาตั้งแต่ สมัยสมเด็จพระนเรศวร ต้องเสียให้กับฝรั่งเศสตามสัญญา ไทยกับฝรั่งเศส เท่านั้นยังไม่พอ ฝรั่งเศสเรียกเงินจากไทย ๑ ล้านบาท เป็นค่าเสียหายที่ต้องรบกับไทย เสียค่าประกันว่าไทยต้องปฏิบัติตามสัญญาอีก ๓ ล้านบาท และยังไม่พอ ฝรั่งเศสได้ ส่งทหารมายึดเมืองจันทบุรีและตราด ไว้ถึง ๑๕ ปี นับว่าเป็นความเจ็บปวดที่สุด ของไทยถึงขนาดที่เจ้านายฝ่ายในต้องขาย เครื่องแต่งกายเพื่อนำเงินมาถวาย ร.๕ เป็นค่าปรับ ร.๕ ต้องนำถุงแดง (เงินพระคลังข้างที่) ออกมาใช้
ครั้งที่ ๑๑ เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง (ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ดินแดนในทิศตะวันออกของน่านคือ จำปาสัก และไซยะบูลี) ให้กับฝรั่งเศสเมื่อ ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๔๖ พื้นที่ ๒๕,๕๐๐ ตร.กม. ในสมัย.ร.๕ ไทยทำสัญญากับฝรั่งเศส เพื่อขอให้ฝรั่งเศสคืน จันทบุรีให้ไทย แต่ฝรั่งเศสถอนไปแต่จันทบุรีแล้วไปยึด เมืองตราดแทนอีก ๕ ปี แล้วเมื่อฝรั่งเศสได้ หลวงพระบางแล้วยังลุกล้ำย้านนาดี, ด่านซ้าน จ.เลย และยังได้เอาศิลาจารึกที่ พระเจดีย์ศรีสองรักษ์ไปด้วย
ครั้งที่ ๑๒ เสียมลฑลบูรพา (พระตะบอง,เสียมราฐ,ศรีโสภณ) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ ๒๓ มีค. ๒๔๔๙ พื้นที่ ๕๑,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัย ร.๕ ไทยได้ทำสัญญากับฝรังเศส เพื่อแลกกับ ตราด,เกาะกง,ด่านซ้าย ตลอดจนอำนาจศาลไทยที่จะบังคับต่อคนในบังคับ ของฝรั่งเศส ในประเทศไทย เพราะขณะนั้นมีคนจีนญวนไปพึ่งธงฝรั่งเศสกันมาก เพื่อสิทธิการค้าขาย ฝรั่งเศสก็เพียงแต่ถอนทหารออกจากตราดเมื่อ ๖ กรกฎาคม ๒๔๕๐ กับด่านซ้าย คงเหลือแต่เกาะกงไม่คืนให้ไทย
ครั้งที่ ๑๓ เสียรัฐกลันตัน,ตรังกานู,ไทรบุรี, ปริส ให้กับอังกฤษเมื่อ ๑๐ มีนาคม ๒๔๕๑ พื้นที่ ๘๐,๐๐๐ ตร.กม. ในสมัย ร.๕ ไทยได้ทำสัญญากับอังกฤษ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ศาลไทยที่จะบังคับคดีความผิดของคนอังกฤษในไทย
ครั้งที่ ๑๔ เสียเขาพระวิหาร ให้กับเขมรเมื่อ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๕ พื้นที่ ๒ ตร.กม. ในสมัย ร.๙ ตามคำพิพากษาของศาลโลก ให้เขาพระวิหารตกเป็นของเขมร เนื่องมาจาก หลักฐานสำคัญของเขมร ในสมัยที่เป็นของฝรั่งเศส เมื่อรู้ว่ากรมพระยาดำรงราชานุภาพ จะเสด็จเขาพระวิหาร จึงขึ้นไปก่อนแล้วชักธงชาติฝรั่งเศสรับเสด็จ แล้วถ่ายรูปไว้เป็น หลักฐาน และนำมาใช้เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงต่อศาลโลก ด้วยเสียง 9 ต่อ 3
พ.ศ. 2550 กัมพูชาเสนอองค์การยูเนสโก ให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ยังไม่มีข้อสรุป
18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นาย นพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ ได้ลงนามยินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ฝ่ายเดียว ร่วมกับ นายอึง เซียน เอกอัครราชทูตกัมพูชา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
24 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ทางการกัมพูชาปิดปราสาทพระวิหารชั่วคราว หวั่นผู้ไม่ประสงค์ดีเข้าไปทำร้ายชาวกัมพูชาในบริเวณใกล้เคียง
28 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติ การดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียน ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด หรือ ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
8 กรกฎาคม พ.ศ 2551 องค์การยูเนสโก ประกาศรับปราสาทพระวิหารขึ้นเป็นมรดกโลก
ขอบคุณจาก www.rungnapa-astro.com/Saranaru-ok/ThaiTerritory-Lost.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น