เส้น (Line)
เส้น คือ ร่องรอยที่เกิดจากเคลื่อนที่ของจุด หรือถ้าเรานำจุดมาวางเรียงต่อ ๆ กันไป ก็จะเกิดเป็นเส้นขึ้น เส้นมีมิติเดียว คือ ความยาว ไม่มีความกว้าง ทำหน้าที่เป็นขอบเขต ของที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก สี ตลอดจนกลุ่มรูปทรงต่าง ๆ รวมทั้งเป็นแกนหรือ โครงสร้างของรูปร่างรูปทรง เส้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะทุกชนิด เส้นสามารถให้ความหมาย แสดงความรู้สึก และอารมณ์ได้ด้วยตัวเอง และด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่าง ๆ ขึ้น เส้นมี 2 ลักษณะคือ เส้นตรง (Straight Line) และ เส้นโค้ง (Curve Line) เส้นทั้งสองชนิดนี้ เมื่อนำมาจัดวางในลักษณะต่าง ๆ กัน จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ และให้ความหมาย ความรู้สึกที่แตกต่างกันอีกด้วย
ลักษณะของเส้น
1. เส้นตั้ง หรือ เส้นดิ่ง ให้ความรู้สึกทางความสูง สง่า มั่นคง แข็งแรง หนักแน่น เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อตรง
2. เส้นนอน ให้ความรู้สึกทางความกว้าง สงบ ราบเรียบ นิ่ง ผ่อนคลาย
3. เส้นเฉียง หรือ เส้นทะแยงมุม ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว รวดเร็ว ไม่มั่นคง
4. เส้นหยัก หรือ เส้นซิกแซก แบบฟันปลา ให้ความรู้สึก คลื่อนไหว อย่างเป็น จังหวะ มีระเบียบ ไม่ราบเรียบ น่ากลัว อันตราย ขัดแย้ง ความรุนแรง
5. เส้นโค้ง แบบคลื่น ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ลื่นไหล ต่อเนื่อง สุภาพ อ่อนโยน นุ่มนวล
6. เส้นโค้งแบบก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว คลี่คลาย หรือเติบโตในทิศทางที่หมุนวนออกมา ถ้ามองเข้าไปจะเห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่สิ้นสุด
7. เส้นโค้งวงแคบ ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง การเปลี่ยนทิศทางที่รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง
8. เส้นประ ให้ความรู้สึกที่ไม่ต่อเนื่อง ขาด หาย ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความเครียด
1. เส้นตั้ง หรือ เส้นดิ่ง ให้ความรู้สึกทางความสูง สง่า มั่นคง แข็งแรง หนักแน่น เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อตรง
2. เส้นนอน ให้ความรู้สึกทางความกว้าง สงบ ราบเรียบ นิ่ง ผ่อนคลาย
3. เส้นเฉียง หรือ เส้นทะแยงมุม ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว รวดเร็ว ไม่มั่นคง
4. เส้นหยัก หรือ เส้นซิกแซก แบบฟันปลา ให้ความรู้สึก คลื่อนไหว อย่างเป็น จังหวะ มีระเบียบ ไม่ราบเรียบ น่ากลัว อันตราย ขัดแย้ง ความรุนแรง
5. เส้นโค้ง แบบคลื่น ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ลื่นไหล ต่อเนื่อง สุภาพ อ่อนโยน นุ่มนวล
6. เส้นโค้งแบบก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว คลี่คลาย หรือเติบโตในทิศทางที่หมุนวนออกมา ถ้ามองเข้าไปจะเห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่สิ้นสุด
7. เส้นโค้งวงแคบ ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง การเปลี่ยนทิศทางที่รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง
8. เส้นประ ให้ความรู้สึกที่ไม่ต่อเนื่อง ขาด หาย ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความเครียด
ความสำคัญของเส้น
1. ใช้ในการแบ่งที่ว่างออกเป็นส่วน ๆ
2. กำหนดขอบเขตของที่ว่าง หมายถึง ทำให้เกิดเป็นรูปร่าง (Shape) ขึ้นมา
3. กำหนดเส้นรอบนอกของรูปทรง ทำให้มองเห็นรูปทรง (Form) ชัดขึ้น
4. ทำหน้าที่เป็นน้ำหนักอ่อนแก่ ของแสดงและเงา หมายถึง การแรเงาด้วยเส้น
5. ให้ความรู้สึกด้วยการเป็นแกนหรือโครงสร้างของรูป และโครงสร้างของภาพ
1. ใช้ในการแบ่งที่ว่างออกเป็นส่วน ๆ
2. กำหนดขอบเขตของที่ว่าง หมายถึง ทำให้เกิดเป็นรูปร่าง (Shape) ขึ้นมา
3. กำหนดเส้นรอบนอกของรูปทรง ทำให้มองเห็นรูปทรง (Form) ชัดขึ้น
4. ทำหน้าที่เป็นน้ำหนักอ่อนแก่ ของแสดงและเงา หมายถึง การแรเงาด้วยเส้น
5. ให้ความรู้สึกด้วยการเป็นแกนหรือโครงสร้างของรูป และโครงสร้างของภาพ
องค์ประกอบสี
วงจรสี
สีขึ้นที่ 1 Primary ประกอบด้วยสี แดง เหลือง และสีน้ำเงิน ซึ่งเมื่อ
นำแม่สีทั้ง 3 มาผสมกันในอัตราส่วนต่าง ๆ ก็จะเกิดสีขึ้นมามากมาย
ซึ่งประโยชน์ จากการที่เรานำสีมาผสมกันทำให้เรา สามารถสีต่าง ๆ
มา ใช้ได้ตามพอใจ สร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่งดงาม ตามความพอใจ
ขอผู้สร้าง สีที่เกิดจากการนำเอาแม่สีมาผสมกัน เกิดสีใหม่เมื่อนำมา
จัดการเรียงอย่างเป็นระบบ รวมเรียกว่าวงจรสี
สีขั้นที่ 2 เกิดจากการนำเอาสีขั้นที่ 1 มาผสมในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน
ประกอบด้วยสีเขียว ส้ม ม่วง
สีขั้นที่ 3 เกิดจากการนำเอาสีขั้นที่ 2 ผสมกับสีขั้นต้นที่อยู่ใกล้เคียง
กันได้สีแตกต่างออกไป ได้แก่ สีเหลืองแกมเขียว น้ำเงินแกมม่วง
แดงแกมม่วง แดงแกมส้ม สีเหลืองแกมส้ม และสีน้ำเงินแกมเขียว
ระบบสี
ระบบสีแบบ CMYK (CYAN,MAGENT,YELLOW,KEY)ระบบสีแบบCMYK เป็นระบบที่นิยมใช้กันในเรื่องของการพิมพ์ การนำหมึกสีทั้ง 4 สีในระบบ CMYK มาผสมกัน จะทำให้เกิดสีได้หลากหลาย เพื่อนำมาใช้ในการพิมพ์ภาพต่าง ๆ ภ้าคุฯลองสังเกตดี ๆ หรือลองใช้แว่นขยายส่งไปที่ภาพที่พิมพ์ด้วยระบบ CMYK จะเห็นเม็ดสีเล็ก ๆ ทั้ง 4 อยู๋เต็มไปหมด ในส่วนของการใช้งานนั้น ตามที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าระบบ CMYK จะใช้สำหรับงานที่ออกแบบมาเพื่อ Print out เช่นงานโปสเตอร์ และงานพิมพ์ต่าง ๆ
ระบบสีแบบ RGB คือ สีที่แสดงในระบบ นั้นอธิบายสั้น ๆ ให้เข้าใจง่าย ๆ คือ สีที่ใช้บนจอ ของคอมพิวเตอร์นั้นเอง โดยหลักการของระบบสี คือ แดงสีแดง เขียว และฟ้า ทำการผสมกันในอัตราส่วนที่แตกต่างจนเกิดเป็นสีต่าง ๆ ให้เรามองเห็นส่วนในด้านของการใช้งานนั้น ระบบสีแบบ RGB เราจะใช้สำหรับภาพการฟฟิกที่แสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์แสดงผลในรูปแบบจอมอริเตอร์ เช่นภาพตาม website ต่าง ๆ ฯลฯ
การแต่งตัว (หลักการเลือกสี)
1.monochromatic คือการใช้สีเดียว เพื่อสร้างความแตกต่าง ด้วยระดับความมืด สหว่าของสี (โมโนโทน)
2.triads คือการใช้สีตามสีที่อยู่ตัดกันใกล้เคียงกัน เพื่อให้เกิดความแตกต่างของสี อย่างชัดเจน ลดระดับของความเข้นได้
3.analogous การใช้สีตรงข้ามกัน สามารถช่วยเน้นความโดดเด่นได้ดี การใช้สีดำ หรือเทา เพื่อลดความรุนแรงของสี นอกจากนั้นการใช้สี 2 สีที่แตกต่างกันมาก จะทำให้มีความสำคัญเท่ากันดังนั้นจึงควรลดความเข้มของสีหนึ่งลง
4.split - complements การใช้สีผสม เป็นผสมผสานระหว่างสีโทนร้อนและเย็น โดยเริ่มจากการเลือกสีใดสีหนึ่งมาจับคู่กับอีก 2 สีในโทนสีตรงข้ามกัน
ขอบคุณจาก http://www.prc.ac.th/newart/webart/element02.html
http://noppadon-mmd.blogspot.com/2010/09/blog-post_6380.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น