ประวัติวงโปงลาง
โปงลาง นั้นก่อนที่จะเรียกว่าโปงลาง มีชื่อเรียกว่า เกราะลอ ซึ่ง เกราะลอ มีประวัติโดยย่อ คือ ท้าวพรหมโคตร ซึ่งเคยอยู่ประเทศลาวมาก่อนเป็นผู้คิดทำเกราะลอขึ้น โดยเลียนแบบเกราะ ที่ใช้ในหมู่บ้านสมัยนั้น เกราะลอทำด้วยไม้หมากเลื่อม (ไม้เนื้ออ่อน สีขาว มีเสียงกังวาล )ใช้เถาวัลย์มัดร้อยเรียงกัน ใช้ตีไล่ฝูงนกกา ที่มากินข้าวในไร่นา ต่อมาท้าวพรหมโคตร ได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านกลางเหมือน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และได้ถ่ายทอดการตีเกราะลอให้แก่นายปาน นายปานได้เปลี่ยนเกราะลอ จาก ๖ ลูก เป็น ๙ ลูก มี ๕ เสียง คือ โด เร มี ซอล ลา เมื่อนายปานเสียชีวิต นายขานน้องนายปาน ได้รับการถ่ายทอดการตี เกราะลอ และนายขานนี่เองที่เป็นผู้ถ่ายทอดการตีเกราะลอให้ นายเปลื้อง ฉายรัศมี เนื่องจากเกราะลอใช้สำหรับตีไล่นกกา ที่มากินข้าวในไร่นา ดังนั้น จึงมีเกราะลออยู่ทุกโรงนา (อีสานเรียกเถียงนา) เมื่อเสร็จจากภารกิจในนาแล้ว ชาวนาจะพักผ่อนในโรงนา และใช้เกราะลอเป็นเครื่องตี เพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ โดยเกราะลอนี้จะตีนอกหมู่บ้านเท่านั้น เพราะมีความเชื่อว่า ถ้าตีในหมู่บ้านจะเกิดเหตุการณ์ไม่ดี เช่น ฝนจะไม่ตกตามฤดูกาล เป็นต้น การเรียนการตีเกราะลอในสมัยนั้น เป็นการเลียนแบบ คือ เป็นการเรียนที่ต้องอาศัยความจำ โดยการจำทำนองในแต่ละลาย เกราะลอที่มี ๙ ลูกนี้ จะเล่นได้ ๒ ลาย คือ ลายอ่านหนังสือใหญ่ และลายสุดสะแนนปี พ.ศ. ๒๔๙๐นายเปลื้อง ได้เรียนวิธีทำเกราะลอ และการตีเกราะลอ จากนายขาน ลายที่ตี คือ ลายภูไทใหญ่ หรือลายอ่านหนังสือใหญ่ นอกจากนั้น นายเปลื้องยังเป็นคนแรกที่นำเกราะลอมาตีในหมู่บ้านเป็นคนแรก ในปีแรกนั้นการตีเกราะลอไม่เป็นที่ประทับใจคนฟังเท่าใดนัก ๒ ปีต่อมาการตีเกราะลอของนายเปลื้องจึงดีขึ้น จนชาวบ้านพากันนิยมว่าตีดี
ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ นายเปลื้องได้วิวัฒนาการ การทำเกราะลอจากแต่ก่อนหน้านี้ที่ทำด้วยไม้หมากเลื่อม มาเป็นไม้หมากหาด(มะหาด,หาด) ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง เวลาตีแล้วไม่บวมง่าย โดยเฉพาะไม้ที่ตายยืนต้น เสียงจะกังวาล ที่เอาไม้หมากหาดมาทำโปงลางนี้ นายเปลื้องได้รับแนวคิดจากพระที่วัด ที่นำไม้นี้มาทำโปงที่ตีบอกเหตุ หรือที่ตีให้สัญญาณ ต่อมานายเปลื้องได้คิดทำเกราะลอเพิ่ม จาก ๙ ลูก เป็น ๑๒ ลูก เมื่อทำสำเร็จลองตีดูเห็นว่าเสียงเพราะมาก ดังนั้นใน ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ นายเปลื้องจึงเพิ่มลูกเกราะจาก ๑๒ ลูกมาเป็น ๑๓ ลูก และเพิ่มเสียงจาก ๕ เสียงเป็น ๖ เสียง คือ เสียง โด เร มี ฟา ซอล ลา(ส่วนเสียงทีนั้น ดนตรีอีสานจะไม่ค่อยพบเสียงนี้เท่าใดนัก จึงไม่เพิ่มเสียงนี้ไว้) และได้คิดลายใหม่เพิ่ม เป็น ๕ ลาย คือ ลายอ่านหนังสือใหญ่ ลายอ่านหนังสือน้อย ลายสุดสะแนน ลายสร้อย และได้เปลี่ยนชื่อ เกราะลอ มาเป็น โปงลาง ซึ่งได้เรียกชื่อดนตรีชนิดนี้มาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ นายเปลื้องซึ่งสนใจและศึกษาโปงลาง หรือ เกราะลอเดิม มาตั้งแต่อายุ ๑๔ ปี ตั้งแต่การเล่นนอกหมู่บ้านและนำมาเล่นในหมู่บ้าน และเคยรับงานแสดงในเทศกาลต่างๆ แต่การเล่นมักจะเป็นการเล่นเดี่ยวเท่านั้น นายเปลื้องจึงเกิดแนวความคิดว่า ดนตรีอีสานมีหลายอย่างด้วยกัน หากนำมาบรรเลงด้วยกันคงจะมีความไพเราะและเร้าใจมากขึ้น จึงได้รวมเพื่อนๆ ตั้งวงโปงลางขึ้น โดยนำเอา ซอ พิณ แคน กลอง หมากกั๊บแก้บ ไห มาร่วมกันบรรเลง และได้รับความสนใจจากผู้ที่ได้รับชมเป็นอันมาก
ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ นายเปลื้อง ได้พบกับนายประชุม อินทรตูล ซึ่งเป็นป่าไม้อำเภอเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์ นอกจากจะมีเครื่องดนตรีและเครื่องประกอบจังหวะแล้ว ยังมีรำประกอบอีกด้วย รำในขณะนั้นก็มีรำโปงลาง รำซวยมือ รำภูไท เป็นต้น วงโปงลางกาฬสินธุ์ได้รับความนิยมตลอดมา และได้มีการบันทึกเทปขายให้กับผู้สนใจอีกด้วย โปงลาง เป็นเครื่องดนตรีที่มีถิ่นกำเนิดจากจังหวัดกาฬสินธุ์จึงเป็นความภาคภูมิใจของคนกาฬสินธุ์ทุกคนที่มีเครื่องดนตรีเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด มีประวัติความเป็นมา ดังนี้
ผู้ที่ทำโปงลางคนแรกคือ ท้าวพรหมโคตรโดยดัดแปลงมาจาก เกราะลอ ที่ผู้ใหญ่บ้านใช้ตีเวลาเรียกประชุม โดยนำเอาเกราะลอที่ทำจากไม้เหลื่อม นำมามัดเรียงกัน ด้วยเถาวัลย์ มีลูกอยู่ 6 ลูก 5 เสียง ได้แก่เสียง ซอล ลา โด เร มี เพื่อตีไล่ฝูงนก กา ที่มาจิกกินข้าวในนา ต่อมาท่านได้ถ่ายทอดการทำเกราะลอให้นายปาน ต่อมานายปาน เสียชีวิต นายขาน ซึ่งเป็นน้องชายได้สืบทอดการตีเกราะ-ลอแทน พอนายขาน แก่ชราก็ได้สืบทอดให้นายเปลื้องฉายรัศมี
นายเปลื้องได้นำไม้มะหาดมาทำแทนไม้เหลื่อม เพราะไม้มะหาดเวลาตี
ไม่บวมง่าย และได้เพิ่มลูกเกราะลอ จาก 6 ลูก เป็น 9 ลูก และเป็น 12,13 ลูก ตามลำดับ มีเสียงดนตรีครบ 7 เสียงและมีสียงต่ำ สูงครบแบบดนตรีสากลพร้อมกับคิดบรรเลงลายใหม่เพิ่มขึ้น คือ ลายอ่านหนังสือใหญ่ ลายอ่านหนังสือ-น้อย ลายสุดสะแนน ลายสร้อย เปลี่ยนชื่อจาก เกราะลอ มาเป็น โปงลาง จนถึงปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น