ชื่อสามัญ Orange Trumpet, Flame Flower.
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pyrostegia venusta., Miers
วงศ์ BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น
ลักษณะทั่วไป
ต้น พวงแสดเป็นพันธุ์ไม้เถาเลื้อยที่มีขนาดใหญ่พอสมควร เป็นไม้ที่มีใบกลายเป็นมือสำหรับยึดเกาะ และสามารถเลื้อยเกาะไปได้ไกลมากกว่า 40 ฟุต เถาอ่อนจะเป็นสีเขียว และเมื่อแก่ก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล ใบ ลักษณะใบของพวงแสดจะเป็นใบประกอบ มี 3 ใบย่อย แต่จะมีบางใบที่เป็นคู่โดยใบย่อยที่สามที่อยู่ตรงกลางจะเปลี่ยนจากใบไปเป็นมือเกาะใบจะออกสลับกัน ใบมีสีเขียวเข้ม ก้านใบสั้นเกือบชิด กิ่งใบเป็นรูปไข่ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบไม่มีจัก ใบมีความกว้างประมาณ 2 เซนติ เมตร และยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร ดอก พวงแสดจะออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ และตามปลายกิ่งส่วนยอดดอกจะดกมากจนดูแน่นช่อมีกลีบรองดอกเป็นรูปถ้วย หรือรูปกระดิ่งหงายดอกเป็นรูปทรงกรวย เรียวยาว ปลายดอกจะบานออกเป็น 4 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะงอโค้งลงข้างล่าง ดอกจะยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 4 อัน สั้นยาวไม่เท่ากัน คือจะสั้น 2 อันและยาวอีก 2 อัน มีเกสรตัวเมีย 1 อัน ซึ่งจะ อยู่ตรงกลาง เกสรตัวเมียมีสีตองอ่อน และจะยาวกว่าเกสรตัวผู้
ฤดูกาลออกดอก พวงแสดจะออกดอก ช่วงเดือนธันวาคม - มีนาคม ของทุกปี
การปลุก การปลูกพวงแสดทำได้โดยการ นำกิ่งที่ได้จากการปักชำ หรือการตอนกิ่งมาปลูกลงหลุม โดยขุดหลุมให้มีความกว้าง ลึก ประมาณ 2 x 1.5 ฟุต แล้วใส่ปุ๋ยหมักรองก้นหลุม แล้วผสมดินกับมูลสัตว์หรือขี้ค้างคาว คลุกให้เข้ากันใส่ลงในหลุมปลูก นำกิ่งที่จะปลูกวางลงกลางหลุมแล้วกลบดินรดน้ำให้ชุ่ม
การดูแลรักษา
แสง พวงแสดเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้งที่ชองแสงแดดจัด และสามารถทนต่อความแห้งแล้งได้ดีพอสมควร น้ำ การให้ให้พวงแสด เมื่อต้นโตและแข็งแรงดีแล้ว ให้รดน้ำวันเว้นวันก็ได้ เพราะพวงแสดไม่ต้องการน้ำมาก ดิน ดินสำหรับปลูกพวงแสด ควรเป็นดินร่วนที่มีส่วนผสมของปุ๋ยธรรมชาติ เช่น มูลสัตว์หรืออื่นๆ อยู่บ้างก็จะทำให้พวงแสดเจริฐเติบโตได้ดี
ี ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ในการผสมดินปลูก เช่น ขี้ค้างคาว เป็นต้น และเมื่อต้นโตใกล้ถึงช่วงออกดอกก็ให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สำหรับเร่งดอกบ้างตามสมควร
โรคและแมลง ไม่มีโรคและแมลงที่สำคัญ หรือโรคและแมลงที่ทำให้เกิดความเสียหายมากนัก การขยายพันธุ์ ปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วน ไม่ต้องการน้ำมาก แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด ประเทศบราชิลและอาเจนตินา
ขอบคุณจาก
http://www.panmai.com/Pvflower/fl_26.htm
http://www.maipradabonline.com/maileay/poungsad.htm
ต้น พวงแสดเป็นพันธุ์ไม้เถาเลื้อยที่มีขนาดใหญ่พอสมควร เป็นไม้ที่มีใบกลายเป็นมือสำหรับยึดเกาะ และสามารถเลื้อยเกาะไปได้ไกลมากกว่า 40 ฟุต เถาอ่อนจะเป็นสีเขียว และเมื่อแก่ก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล ใบ ลักษณะใบของพวงแสดจะเป็นใบประกอบ มี 3 ใบย่อย แต่จะมีบางใบที่เป็นคู่โดยใบย่อยที่สามที่อยู่ตรงกลางจะเปลี่ยนจากใบไปเป็นมือเกาะใบจะออกสลับกัน ใบมีสีเขียวเข้ม ก้านใบสั้นเกือบชิด กิ่งใบเป็นรูปไข่ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบไม่มีจัก ใบมีความกว้างประมาณ 2 เซนติ เมตร และยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร ดอก พวงแสดจะออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ และตามปลายกิ่งส่วนยอดดอกจะดกมากจนดูแน่นช่อมีกลีบรองดอกเป็นรูปถ้วย หรือรูปกระดิ่งหงายดอกเป็นรูปทรงกรวย เรียวยาว ปลายดอกจะบานออกเป็น 4 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะงอโค้งลงข้างล่าง ดอกจะยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 4 อัน สั้นยาวไม่เท่ากัน คือจะสั้น 2 อันและยาวอีก 2 อัน มีเกสรตัวเมีย 1 อัน ซึ่งจะ อยู่ตรงกลาง เกสรตัวเมียมีสีตองอ่อน และจะยาวกว่าเกสรตัวผู้
ฤดูกาลออกดอก พวงแสดจะออกดอก ช่วงเดือนธันวาคม - มีนาคม ของทุกปี
การปลุก การปลูกพวงแสดทำได้โดยการ นำกิ่งที่ได้จากการปักชำ หรือการตอนกิ่งมาปลูกลงหลุม โดยขุดหลุมให้มีความกว้าง ลึก ประมาณ 2 x 1.5 ฟุต แล้วใส่ปุ๋ยหมักรองก้นหลุม แล้วผสมดินกับมูลสัตว์หรือขี้ค้างคาว คลุกให้เข้ากันใส่ลงในหลุมปลูก นำกิ่งที่จะปลูกวางลงกลางหลุมแล้วกลบดินรดน้ำให้ชุ่ม
การดูแลรักษา
แสง พวงแสดเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้งที่ชองแสงแดดจัด และสามารถทนต่อความแห้งแล้งได้ดีพอสมควร น้ำ การให้ให้พวงแสด เมื่อต้นโตและแข็งแรงดีแล้ว ให้รดน้ำวันเว้นวันก็ได้ เพราะพวงแสดไม่ต้องการน้ำมาก ดิน ดินสำหรับปลูกพวงแสด ควรเป็นดินร่วนที่มีส่วนผสมของปุ๋ยธรรมชาติ เช่น มูลสัตว์หรืออื่นๆ อยู่บ้างก็จะทำให้พวงแสดเจริฐเติบโตได้ดี
ี ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ในการผสมดินปลูก เช่น ขี้ค้างคาว เป็นต้น และเมื่อต้นโตใกล้ถึงช่วงออกดอกก็ให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สำหรับเร่งดอกบ้างตามสมควร
โรคและแมลง ไม่มีโรคและแมลงที่สำคัญ หรือโรคและแมลงที่ทำให้เกิดความเสียหายมากนัก การขยายพันธุ์ ปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วน ไม่ต้องการน้ำมาก แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด ประเทศบราชิลและอาเจนตินา
ขอบคุณจาก
http://www.panmai.com/Pvflower/fl_26.htm
http://www.maipradabonline.com/maileay/poungsad.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น