Translate

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของโหวด

ประวัติความเป็นมาของโหวด
เดิมโหวดเป็นของเล่นของเด็กเลี้ยงควาย ชาวภาคอีสานทั่วๆ ไป ใช้เล่นในช่วงปลายฤดูฝนก่อนเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ใช้เล่น ๓ กรณี คือ

เป่าเล่นเพื่อประโลมใจขณะขี่หลังควายหรือพาควายเล็มหญ้าตามทุ่งนา
ใช้แกว่งและเหวี่ยงเพื่อฟังเสียง ด้วยการต่อหางโหวดให้ยาว แล้วเอาบ่วง ๒ หัว ที่เรียกว่า "ตอง" คล้องหัวและหางโหวด แล้วแกว่งรอบศรีษะด้วยความเร็วสูง เสียงปะทะรูโหวดทุกลูกพร้อมๆ กัน จะเกิดเสียงดังว่า "ลาวๆ" หรือ "แงวๆ" ฟังแล้วชวนเพลิดเพลิน ชาวไทยลาวภาคอีสานเรียกการแกว่งโหวด เช่นนี้ว่า "การแงวโหวด"
การโยนเล่นเป็นกีฬา กล่าวคือเมื่อแกว่งโหวดฟังเสียงพอใจแล้วก็ปล่อยหางบ่วง ทำให้โหวดลอยโด่งขึ้นไปในอากาศเกิดเสียงดัง "โหวดๆ" หรือ "โหว่ๆ" เรียกว่า การทิ้มโหวด (ถิ้ม-ทิ้ม)

 

            คนโบราณมีความเชื่อว่า โหวดเกิดขึ้นมาหลายพันปีแล้ว ตามนิยายปรัมปราที่เล่าขานกันมา โหวดคนอีสานโบราณเชื่อกันว่า เป็นสื่อที่มนุษย์ใช้บนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อขอให้ฝนหยุดตก ในที่นี้หมายถึงพระยาแถน ผู้ซึ่งประทานน้ำฝนให้ตกในเมืองมนุษย์ ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งจะทำให้ความเสียหายกับผลิตผลได้ จึงเป็นผลให้ไม่เป็นที่นิยมเล่นโหวดในฤดูฝน (เพราะกลัวฝนแล้ง)

การพัฒนาเป็นเครื่องดนตรี

        การนำโหวดมาปรับปรุงใช้เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ทำขึ้นครั้งแรกโดยชาวอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด มีนายทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ เป็นหมอโหวดคนสำคัญ เป็นผู้คิดเอาโหวดประสมกับวงแคนและซุง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511-2516 เรียกวงดนตรีชนิดนั้นว่า "วงโหวดเสียงทองหนองพอก" ต่อมาปี พ.ศ. 2517 จึงนำวงโปงลางเข้ามาประสมด้วย อันเป็นสาเหตุให้ต้องปรับปรุงมาตราเสียงของโหวดให้ตรงกับมาตราเสียงของโปงลาง คือมีระดับเสียงจากต่ำไปสูง จนแพร่หลายไปทั่วประเทศ และต่างประเทศจนถึงปัจจุบัน   


  การทำโหวด
        การเรียนเป็นช่างทำโหวด จะเรียนรู้จากผู้รู้ โดยหลักการส่วนใหญ่ๆ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยต้องอาศัยทักษะความชำนาญ ความแม่นยำในการฟังระดับเสียง และคิดค้นรูปแบบใหม่ๆ เพื่อพัฒนาให้ทันสมัย

วัสดุที่ใช้ในการทำโหวด
        ประกอบด้วยไม้ไผ่เฮี้ยหรือไม้ไผ่รวก และขี้สูด (รังของแมลงจำพวกแมงน้อย แมงน้อยนี้ชอบทำรังตามจอมปลวกหรือตามโพรงไม้ รังของมันมีน้ำหวานปั้นเอาน้ำหวานออก เรียก ขี้สูดแมงน้อย แมงน้อยไม่มีเหล็กไน ต่อยคนไม่เป็น)

อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการทำโหวด
        ได้แก่ มีดอีโต้ (สำหรับตัดลำไม้ไผ่) มีดตอก (สำหรับเจียน ตกแต่ง) ไม้สำหรับปรับระดับเสียง และน้ำมันก๊าด (สำหรับล้างทำความสะอาด)

ขั้นตอนในการทำโหวด

นำไม้ไผ่เฮี้ยที่เลือกสรรแล้ว มาตัดเรียงความยาวลดหลั่นกันตามลำดับ
ตัดแต่งลูกโหวดแต่ละลูก โดยตัดเฉียงเป็นมุม 45 องศา อุดรูลูกโหวดด้วยขี้สูดแล้วปรับระดับเสียง
นำไม้รวกมาตัดแต่งทำเป็นแกนโหวด โดยเลือกไม้ไผ่ให้มีขนาดใหญ่หรือเล็กตามขนาดของลูกโหวด
นำลูกโหวดมาแปะติดกับแกนโหวด โดยใช้ขี้สูดเป็นตัวยึดโดยรอบ
นำขี้สูดอีกส่วนหนึ่งติดที่หัวของโหวด ตกแต่งให้เรียบนูนสวยงาม และตกแต่งรูลูกโหวดให้เป่าง่ายไม่เปลืองลม

ขนาดของโหวด


ขนาดของโหวดแต่ดั้งเดิมนั้นนิยมทำกันอยู่ 3 ขนาด คือ 1) ขนาดเล็ก มีลูกโหวด 3-7 ลูก 2) โหวดกลาง มีลูกโหวด 9 ลูก 3) โหวดใหญ่ มีลูกโหวด 11-13 ลูก

          ความยาวของลูกโหวดในแต่ละลูกนั้นจะสั้นยาวแตกต่างกัน ลูกที่ยาวที่สุดประมาณ 25 เซนติเมตร ลูกต่อมายาวลดหลั่นกันลงมา จนถึงลูกที่สั้นที่สุด ประมาณ 6 เซนติเมตร คนโบราณเรียกลูกโหวดลูกที่ยาวที่สุดว่า "ลูกโอ้" ลูกที่เหลือไม่ปรากฎชื่อ ในปัจจุบันจะเรียกชื่อลูกโหวดตามระดับเสียงโน้ตสากล คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที
        โหวดพื้นเมืองมี 5 บันไดเสียง คือ โด เร ฟา ซอล ลา แต่ในปัจจุบันมีการปรับระดับเสียงให้ครบทั้ง 7 เสียง เพื่อให้สามารถนำไปบรรเลงประกอบวงดนตรีสากลได้ ทางดนตรีหรือลายโหวดประกอบการ 
แสดงส่วนมากเป็นลายที่แต่งขึ้นใหม่ โดยอาศัยทำนองจากลายแคน จากทำนองหมอลำ จากทำนองสรภัญญะบ้าง

ประเภทของโหวด โหวดมี 3 ประเภท คือ

โหวดกลม ใช้เป่าเป็นเครื่องดนตรีประกอบวงดนตรีพื้นเมืองอีสานนิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน
โหวดแกว่ง ลักษณะเหมือนโหวดกลม แต่ต่างกันตรงที่ติดหางยาวไว้สำหรับแกว่งให้เกิดเสียง
โหวดแผง ใช้เป่าเหมือนโหวดกลม แต่ได้ดัดแปลงการติดตั้งลูกดหวดจากการติดรอบแกน มาเป็นการติดกันเป็นแผงเหมือนกับแคนแต่เป็นแถวเดี่ยวแถวเดียว

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เกร็ดความรู้ของลักษณะเเมว


                  


เกร็ดความรู้ของลักษณะเเมว

แมว หรือ แมวบ้าน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Felis catus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อยู่ในตระกูล Felidae ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับสิงโตและเสือดาว ต้นตระกูลแมวมาจากเสือไซบีเรียน (Felis tigris altaica) ซึ่งมีช่วงลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 4 เมตร แมวที่เลี้ยงตามบ้าน จะมีรูปร่างขนาดเล็ก ขนาดลำตัวยาว ช่วงขาสั้นและจัดอยู่ในกลุ่มของประเภทสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร มีเขี้ยวและเล็บแหลมคมสามารถหดซ่อนเล็บได้เช่นเดียวกับเสือ สืบสายเลือดมาจากแมวป่าที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งลักษณะบางอย่างของแมวยังคงพบเห็นได้ในแมวบ้านปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นแมวพันธุ์แท้หรือแมวพันธุ์ทาง
แมวเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เมื่อประมาณ 9,500 ปีก่อน [5] ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของแมวคือการทำมัมมี่แมวที่ค้นพบในสมัยอียิปต์โบราณ หรือในพิพิธภัณฑ์อังกฤษในกรุงลอนดอน มีการแสดงสมบัติที่นำออกมาจากปิรามิดโบราณแห่งอียิปต์ ซึ่งรวมถึงมัมมี่แมวหลายตัว ซึ่งเมื่อนำเอาผ้าพันมัมมี่ออกก็พบว่า แมวในสมัยโบราณทุกตัวมีลักษณะใกล้เคียงกัน คือเป็นแมวที่มีรูปร่างเล็ก ขนสั้นมีแต้มสีน้ำตาล มีความคล้ายคลึงกับพันธุ์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่าแมวอะบิสสิเนียน

ความสำคัญทางเศรษฐกิจ

แมวเป็นสัตว์เลี้ยงคลายเหงาที่นิยมมากชนิดหนึ่งใกล้เคียงกับสุนัข แมวบางสายพันธุ์เช่น แมวสีสวาด และแมววิเชียรมาศ เป็นแมวไทยที่สวยงามเป็นที่ชื่นชอบทั้งในประเทศและต่างประเทศ สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในฐานะประเทศที่เป็นต้นกำเนิดของสายพันธุ์ มีการเลี้ยงเพื่อเพาะพันธุ์เพื่อขาย ถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ นอกจากนี้อุจจาระของแมวสามารถนำมาทำปุ๋ยได้

 แมวพันธุ์ต่าง ๆ

แมวในโลกนี้มีมากมายหลายพันธุ์ โดยเฉพาะแมวที่เป็นสัตว์เลี้ยงไม่นับรวมสัตว์ตระกูลแมว พวกเสือ แมวดาว แมวป่า หรือ สิงโต แมวเลี้ยง หรือที่เราเรียกว่า Domestic cat นั้นมีวิวัฒนการมาจากแมวป่าในธรรมชาติจากหลายภูมิภาคของโลก ชื่อเรียกพันธุ์แมวที่แตกต่างกันที่เรียกกันทุกวันนี้ เช่น เปอร์เซีย แมวสยาม บาลิเนส อะบิสสิเนียน และโซมาลี นั้น แสดงถึงถิ่นกำเนิดที่แสดงถึงภูมิศาสตร์ที่เขาถือกำเนิดมา ในการจัดนิทรรศการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศอังกฤษเมื่อปีคริสศักราช 1871 ถือเป็นการเริ่มต้นในการนำเสนอพันธุ์แมวในระดับนานาชาติ ทำให้ผู้สนใจในแมวมีความตื่นตัว แต่การแสดงในครั้งนั้นส่วนใหญ่เป็นแมวเปอร์เซียและแมวขนสั้นเป็นหลัก

การจัดจำแนกแมว

โดยทั่วไปมีการแบ่งพันธุ์แมวออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ แมวขนยาว (longhaired cat) และแมวขนสั้น (shorthaired cats) การแบ่งพันธุ์ด้วยวิธีนี้ทำให้จำแนกแมวออกได้ตามลักษณะพันธุ์ที่จำเพาะต่างๆ กัน การจัดจำแนกแมวในยุโรปและสหรัฐอเมริกามีการกำหนดมาตรฐานของพันธุ์แมวที่เป็นที่ยอมรับกัน ทั้งนี้ลักษณะมาตรฐานของพันธุ์ก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยๆ การใช้ชื่อเรียกพันธุ์แมวที่แสดงถึงลักษณะของพันธุ์ที่จำเพาะมีความแตกต่างกันระหว่างในยุโรปและสหรัฐอเมริกา และมีบางพันธุ์มีการจัดจำแนกเฉพาะต่างหากในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แมวมีมากมายหลายพันธุ์ เช่น แมวเปอร์เซีย แมววิเชียรมาศ ฯลฯ

 แมวไทย

คนไทยน้อยคนนักที่จะรู้จักว่าแมวไทยจริงๆนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร ทว่าแมวไทยพันธุ์แท้นั้นกลับไปมีชื่อเสียงโด่งดังที่ต่างประเทศมากกว่าในเมืองไทย ทั้งยังได้รับการยกย่องว่าเป็นพันธุ์อันเลิศพันธุ์หนึ่งในโลก และมีความมหัศจรรย์ยิ่งกว่าพันธุ์ใดๆ เมื่อปี พ.ศ. 2427 ชาวอังกฤษชื่อนายโอเวน กูลด์ (Owen Gould) กงสุลอังกฤษประจำกรุงเทพฯ ได้นำแมวไทยคู่หนึ่งจากประเทศไทยไปฝากน้องสาวที่อังกฤษ อีกหนึ่งปีต่อมา แมวคู่นี้ถูกส่งเข้าประกวดในงานประกวดแมวที่คริสตัลพาเลซ กรุงลอนดอน ปรากฏว่าชนะเลิศได้รางวัลที่หนึ่ง ทำให้ชาวอังกฤษพากันแตกตื่นเลี้ยงแมวไทยกันจนมีสโมสรแมวไทยเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2443 ชื่อว่า The Siamese Cat Clubs ต่อมาในปี พ.ศ. 2471 ได้มีการตั้งสมาคมแมวไทยแห่งจักรวรรดิอังกฤษขึ้น หรือ The Siamese Cat Society of the British Empire ขึ้นมาอีกสมาคมหนึ่งแมวที่นายโอเวน กูลด์ นำไปจากประเทศไทยนั้น มีแต้มสีครั่งหรือน้ำตาลไหม้เก้าแห่ง คือหน้า หูทั้งสองข้าง เท้าทั้งสี่ หาง และอวัยวะเพศ ซึ่งถือว่าเป็นแต้มสีที่อยู่ในบริเวณที่เหมาะสมและไม่เลอะเทอะเหมือนแมวพันธุ์อื่น และเมื่อนำแมวไทยไปผสมกับแมวพันธุ์อื่น จะได้แต้มสีตามร่างกายในตำแหน่งเดียวกัน แต่รูปร่างจะไม่สง่างามเท่า และอุปนิสัยจะไม่เหมือนกันด้วย ซึ่งแมวไทยพันธุ์นี้เป็นพันธุ์แรกที่ชาวต่างชาติรู้จัก จึงมักเรียกกันทั่วไปว่า Siamese Cat หรือ Seal Point ส่วนในสมุดข่อยโบราณของไทยให้ชื่อแมวไทยลักษณะนี้ว่า "แมววิเชียรมาศ" คุณสมบัติอันโดดเด่นของแมวไทยอีกประการหนึ่งก็คือ อุปนิสัยที่มีความฉลาด รักบ้าน รักเจ้าของ เป็นตัวของตัวเอง รู้จักประจบ และที่สำคัญคือ การรักอิสระเป็นชีวิตจิตใจ ซึ่งถือว่าเป็นบุคลิกประจำตัว และทำให้แมวไทยเป็นสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมอย่างสูงไปทั่วโลก และเป็นที่น่าสังเกตว่า การผสมพันธุ์ระหว่างแมวไทยและแมวต่างชาตินั้น แม้จะได้แมวที่มีลักษณะและสีเหมือนแมวไทย แต่จะไม่ได้อุปนิสัยตามอย่างแมวไทยไปด้วย นอกจากว่าจะเป็นการผสมระหว่างแมวไทยด้วยกันเองเท่านั้นในสมุดข่อยโบราณได้กล่าวถึงแมวไทยไว้ถึง 23 ชนิด ซึ่งเป็นแมวดี (แมวให้คุณ) 17 ชนิด และแมวร้าย (แมวให้โทษ) 6 ชนิด ซึ่งในปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปแล้ว 13 ชนิด เหลือเพียง 4 ชนิดเท่านั้นในปัจจุบัน ได้แก่แมววิเชียรมาศ แมวโคราช แมวศุภลักษณ์ และแมวโกญจา ส่วนแมวขาวมณีนั้นแม้จะไม่ได้บันทึกอยู่ในสมุดข่อยก็ตาม แต่ก็ถือเป็นแมวไทย ต่อมาภายหลังได้ค้นพบแมวแซมเสวตรซึ่งเดิมทีเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว โดยค้นพบไม่กี่ปีมานี้



    ขอบคุณจาก:จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทรัพยากรสัตว์ป่า

   
      
                           
    ทรัพยากรสัตว์ป่า
สัตว์ป่า โดยทั่วๆ ไป เรามักจะหมายถึง เฉพาะสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ สัตว์จำพวกปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม บางคนก็หมายถึง สัตว์ที่มีกระดูกหลังที่ไม่เชื่อง หรือที่คนไม่ได้เลี้ยงเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ (ฉบับล่าสุด) ได้ให้คำนิยามของ สัตว์ป่า ว่า หมายถึง สัตว์ทุกชนิดไม่ว่าสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก แมลง หรือแมงซึ่งโดยสภาพธรรมชาติย่อมเกิดและดำรงชีวิตอยู่ในป่าหรือในน้ำ และให้หมายความรวมถึงไข่ของสัตว์ป่าเหล่านั้นทุกชนิดด้วย แต่ไม่หมายความรวมถึงสัตว์พาหนะที่ได้จดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะแล้ว และสัตว์พาหนะที่ได้มาจากการสืบพันธุ์ของสัตว์พาหนะดังกล่าว

ประโยชน์ของสัตว์ป่า

          สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์มาตั้งแต่สมัยที่คนยังอาศัยอยู่กับธรรมชาติในป่า หรือในถ้ำ ยิ่งในสมัยปัจจุบันเมื่อมนุษย์มีความเจริญก้าวหน้าขึ้น สัตว์ป่าก็ยิ่งกลับมีบทบาทและเพิ่มความสำคัญให้แก่มนุษย์มากขึ้นเป็นลำดับ สำหรับคุณประโยชน์ของสัตว์ป่าที่มีต่อมนุษย์ในด้านต่างๆ ได้แก่

          ๑. ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การค้าสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าจากส่วนต่างๆ เช่น ขน เขาและหนัง เป็นต้น การค้าสัตว์ป่า จึงถือว่าเป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้แก่ผู้ค้าอย่างงาม และมีเงินหมุนเวียนในประเทศจำนวนไม่น้อย ซึ่งคุณค่าทางเศรษฐกิจจะรวมถึงรายได้ต่างๆ จากการท่องเที่ยวในการชมสัตว์ด้วย
          ๒. การเป็นอาหาร มนุษย์เราได้ใช้เนื้อสัตว์ป่าเป็นอาหารเป็นเวลาช้านานมาแล้ว ซึ่งสัตว์ป่าหลายชนิด ก็ได้มีเลี้ยงจนกระทั่งกลายเป็นสัตว์เลี้ยงไป สัตว์ป่าหลายชนิดตามธรรมชาติคนก็ยังนิยมใช้เนื้อเป็นอาหารอยู่ เช่น หมูป่า เก้ง กวาง กระจง นกเป็ดน้ำ ตะกวด แย้ เป็นต้น รวมทั้งอวัยวะของสัตว์ป่าบางอย่าง เช่น นอแรด กะโหลกเลียงผา เขากวางอ่อน เลือดและกระเพาะต่างๆ ดีงูเห่าซึ่งคนก็นิยมดัดแปลงเป็นอาหาร หรือใช้เป็นเครื่องยาสมุนไพร และเนื่องจากปัจจุบันสัตว์ป่าได้ลดจำนวนลงอย่างมากและบางชนิดได้สูญพันธุ์หรือใกล้จะสูญพันธุ์ ดังนั้น จึงควรช่วยกันเปลี่ยนค่านิยมในการบริโภคอาหารจากสัตว์ป่า
          ๓. การนันทนาการและด้านจิตใจ สัตว์ป่าทำให้ธรรมชาติดูมีชีวิตชีวา การได้พบ ได้เห็นได้ยินเสียงสัตว์ป่าย่อมทำให้เกิดสิ่งบันดาลใจหรือดลใจ ทำให้เกิดความสุขทางจิตใจ เป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดได้อย่างดี นับเป็นคุณค่าที่ไม่สามารถประเมินเป็นตัวเงินได้โดยง่าย การท่องเที่ยวชมสัตว์ป่าในสวนสัตว์ อุทยานแห่งชาติเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และแหล่งสัตว์อื่นๆ จัดเป็นเรื่องของนันทนาการทั้งสิ้น เมื่อได้พบเห็นสัตว์ป่าแปลกๆ และสวยงาม จะทำให้รู้สึกตื่นเต้นและมีความสดชื่นดีใจ ทำให้เกิดพลังที่จะคิดสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมต่อไป
          ๔. ด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษา และการแพทย์ การค้นคว้าทดลองในด้านวิทยาศาสตร์ที่ก่อประโยชน์ให้แก่สังคม ในปัจจุบันมีอยู่หลายสาขาวิชาที่จำเป็นต้องอาศัยสัตว์ป่าเป็นตัวทดลองทำให้นักวิทยาศาสตร์ นักการศึกษา และแพทย์ประสบผลสำเร็จในด้านการค้นคว้าทดลองต่างๆ นอกจากนั้น ยังมีการนำสัตว์ป่าไปเลี้ยงในสวนสัตว์ เพื่อให้ประชาชน นักศึกษา และนักวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติได้ชมและศึกษาถึงชีวิตของสัตว์ป่า ซึ่งนับว่ามีคุณประโยชน์เป็นอย่างมากเพราะเท่ากับเป็นการรักษาชนิดพันธุ์สัตว์ที่หายากบางชนิดไม่ให้ต้องถูกล่าจนสูญพันธุ์ไป และในอนาคตคนรุ่นต่อไปอาจจะได้ชมและเห็นสัตว์ป่าบางชนิดก็แต่เพียงในสวนสัตว์เท่านั้น
          ๕. เป็นตัวควบคุมสิ่งมีชีวิตอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ด้วยกันเอง เช่น ค้างคาวกินแมลง นกฮูกและงูสิงกินหนูต่างๆ นกกินตัวหนอนที่ทำลายพืชเศรษฐกิจ เป็นต้น ซึ่งเท่ากับเป็นการช่วยประหยัดเงินในการที่จะต้องนำไปใช้ในการกำจัดศัตรู ทั้งทางตรงและทางอ้อมเหล่านี้
          ๖. คุณค่าของสัตว์ป่าต่อทรัพยากรอื่นๆ สัตว์ป่ามีส่วนช่วยหลายอย่าง เช่น
              ๖.๑ ช่วยทำลายศัตรูป่าไม้ ได้แก่ ศัตรูตามธรรมชาติจำพวกโรคและแมลง ศัตรูเหล่านี้จะไม่ระบาดหากมีตัวทำลาย ซึ่งสัตว์ป่าหลายชนิดเป็นตัวกำจัดแมลง เช่น นกหัวขวานนกไต่ไม้จะกินแมลงและตัวหนอนตามลำต้นนกกินแมลงจะกินแมลงที่มาทำลายใบ ดอกและผล ตุ่น หนูผี จะกินหนอนที่มากินรากและลำต้นใต้ดิน หากไม่มีสัตว์เหล่านี้แล้ว ต้นไม้จะได้รับความเสียหายและอาจจะตายได้ในที่สุด
              ๖.๒ ช่วยขยายพันธุ์ไม้ สัตว์ป่าบางชนิดช่วยขยายพันธุ์โดยผสมเกสร เช่น นกกินปลีนกปลีกล้วย และค้างคาว เป็นต้น สัตว์ป่าเหล่านี้จะช่วยผสมเกสรดอกไม้ขณะที่กินน้ำหวานดอกไม้จากดอกหนึ่งไปยังอีกดอกหนึ่งสัตว์ป่าบางชนิด เช่น นกขุนทอง นกเงือก ลิง ค่าง กวาง กระทิง วัวแดง เป็นต้น จะกินผลไม้เป็นอาหาร แล้วคายหรือถ่ายเมล็ดออกมาตามที่ต่างๆ ที่สัตว์ท่องเที่ยวไป ซึ่งอาจจะช่วยในการกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้ไปในที่ต่างๆ
              ๖.๓ ช่วยทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้นมูลสัตว์เกือบทุกชนิดใช้เป็นปุ๋ยได้อย่างดี เท่ากับเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ในขณะเดียวกันเมื่อสัตว์ป่าตายลง ซากของสัตว์ป่าก็จะกลายเป็นปุ๋ยได้เช่นเดียว


การจัดการสัตว์ป่า
          สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติประเภทที่เพิ่มพูนขึ้นได้เช่นเดียวกับ ป่าไม้ ทุ่งหญ้า ดินและน้ำ แต่จะต้องมีการบำรุงรักษาและใช้อย่างถูกต้อง ปัจจุบันเราใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่าอย่างไม่ถูกวิธีเท่าที่ควร เป็นการใช้อย่างสิ้นเปลืองและไม่รู้คุณค่า และไม่พยายามหาวิธีทดแทนให้พอเพียงและเหมาะสม ทำให้สัตว์ป่าบางชนิดได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น สมัน และอีกหลายชนิดกำลังมีจำนวนลดน้อยลงหรือใกล้จะสูญพันธุ์ เช่น นกยางจีน เป็ดน้ำ กูปรี กระซู่ แรด ละอง กวางผา เป็นต้น และถ้าหากสัตว์ป่าชนิดใดสูญพันธุ์ไปแล้วก็ไม่สามารถสร้างพันธุ์ของสัตว์ป่าชนิดนั้นขึ้นมาได้อีก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดการสัตว์ป่า เพื่อการอนุรักษ์ต่อไป โดยมีหลักการจัดการดังนี้

          ๑. การป้องกัน เป็นการป้องกันให้สัตว์ป่าคงอยู่ ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งสำคัญของการจัดการสัตว์ป่า โดยสามารถดำเนินการได้ในรูปของการป้องกันและปราบปรามการลักลอบล่าสัตว์ป่า การจำกัดการล่า การควบคุมสิ่งทำลาย รวมทั้งการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีจิตสำนึก รู้คุณค่าของสัตว์ป่า และให้ความเมตตาต่อสัตว์ เป็นต้น
          ๒. การอนุรักษ์พื้นที่ คือ การอนุรักษ์ให้เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่หลบภัยของสัตว์ป่าอย่างปลอดภัย รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำและแหล่งอาหารของสัตว์ป่าด้วย โดยทำการป้องกัน บำรุงรักษาและปรับปรุงแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งน้ำและอาหารของสัตว์ป่าให้อยู่ในสภาพที่ดี และไม่ถูกทำลายให้สูญหายไป เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่สัตว์ป่ามากที่สุด และมนุษย์เราก็จะได้ใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่าอีกทอดหนึ่ง
          ๓. การเพิ่มปริมาณให้มากขึ้น สามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งอาจจะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ โดยการควบคุมปัจจัยต่างๆ หรือทำให้เพิ่มขึ้นโดยการช่วยเหลือของคน และใช้วิทยาการสมัยใหม่เข้าช่วย เช่น การผสมเทียม เป็นต้น
          ๔. การค้นคว้าวิจัยทางวิชาการ เพื่อนำผลการค้นคว้าวิจัยไปประยุกต์กับการจัดการสัตว์ป่าในอนาคตต่อไป และเมื่อกิจการด้านสัตว์ป่าเจริญมากขึ้น งานป้องกันและปราบปรามการลักลอบล่าสัตว์ป่าก็จะลดลง จึงควรเริ่มงานค้นคว้าวิจัยทางวิชาการให้ควบคู่กับงานด้านการป้องกันและปราบปราม
         ๕. การใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่า โดยหาวิธีที่จะนำสัตว์ป่าต่างๆ มาใช้ให้บังเกิดประโยชน์ต่อสังคมในทางที่เหมาะสม เช่น จัดสถานที่ชมสัตว์ป่าให้ประชาชนได้เข้าไปใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ หรือศึกษาหาความรู้ตามสมควร และหากมีจำนวนสัตว์ป่ามากพอ ก็อาจเปิดให้มีการล่าสัตว์นั้นๆ โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายใต้การใช้กฎระเบียบต่างๆ ที่จะปฏิบัติในการล่าสัตว์ด้วย

เกร็ดความรู้ของกระต่าย


                                                   เกร็ดความรู้ของกระต่าย

กระต่าย (อังกฤษ: Hare, Rabbit) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับกระต่าย (Lagomorpha) ในวงศ์ Leporidae
กระต่ายแม้จะมีฟันแทะเหมือนกับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก เนื่องมีจำนวนฟันที่ไม่เท่ากัน เพราะกระต่ายมีฟันแทะที่ขากรรไกรบน 2 แถว เรียงซ้อนกันแถวละ 2 ซี่ ฟันกรามบนข้างละ 6 ซี่ และฟันกรามล่างข้างละ 5 ซี่ เมื่อเวลาเคี้ยวอาหาร กระต่ายจะใช้ฟันทั้ง 2 ด้านเคี้ยวสลับกันไป ต่างจากสัตว์ฟันแทะโดยทั่วไปที่เคี้ยวเคลื่อนหน้าเคลื่อนหลัง ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า  (1\tfrac{2}{2},C\tfrac{0}{0},P\tfrac{3}{2},M\tfrac{2}{3}) X 2 = 28
กระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็ก มีขนปุกปุยทั่วลำตัว มีหางกลมสั้น มีใบหูยาวเมื่อเทียบกับสัตว์อื่น ซึ่งวิวัฒนาการมาใช้สำหรับฟังเสียงได้เป็นอย่างดี และยังมีประสาทสัมผัสในการดมกลิ่นที่ดีมาก กระต่ายมีขาหน้าที่มี 5 นิ้ว ขาหลังมี 4 นิ้ว มีสะโพกที่ยาวและทรงพลัง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ จึงสามารถกระโดดได้เป็นอย่างดี ใต้ฝ่าเท้ามีขนนุ่ม ๆ รองรับอยู่ เพื่อมิให้เกิดเสียงเมื่อเคลื่อนไหว เป็นสัตว์ที่ตื่นตกใจง่ายและมีความว่องไวปราดเปรียวมากในการระแวดระวังภัย
กระต่ายเป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารเท่านั้น ต่างจากสัตว์ฟันแทะที่กินได้ทั้งเนื้อและพืช อาหารของกระต่ายได้แก่ หญ้าและพืชผักชนิดต่าง ๆ อายุขัยโดยเฉลี่ยของกระต่ายจะอยู่ที่ 2-3 ปี นับเป็นสัตว์ที่สืบพันธุ์เร็วมาก โดยปีหนึ่ง ๆ กระต่ายสามารถออกลูกได้ถึง 2-3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 2-3 ตัว กระต่ายในธรรมชาติ มักอาศัยอยู่ในที่ราบโล่งที่เป็นทุ่งหญ้ามากกว่าป่าทึบ โดยขุดโพรงใต้ดินเป็นรังและที่อยู่อาศัย ลูกกระต่ายป่าในธรรมชาติ เมื่อแรกเกิดจะลืมตา และในวันรุ่งขึ้นก็สามารถวิ่งและกระโดดได้เลย เมื่อกระต่ายตัวเมียจะคลอดลูก จะแยกออกจากรังเดิมไปขุดรังใหม่ เพื่อป้องกันลูกอ่อนจากกระต่ายตัวผู้ ซึ่งอาจฆ่าลูกกระต่ายเกิดใหม่ได้ โดยจะกัดขนตัวเองเพื่อปูรองรับลูกใหม่ที่จะเกิดขึ้นมา
กระต่ายกระจายพันธุ์ไปในทุกภูมิภาคทั่วโลก ไม่เว้นแม้กระทั่งเขตอาร์กติก ยกเว้นโอเชียเนียและทวีปออสเตรเลีย แบ่งออกได้เป็น 11 สกุล (ดูในตาราง) [1] ในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียว คือ กระต่ายป่า (Lepus peguensis)
กระต่ายโดยธรรมชาติ เป็นสัตว์ที่อยู่สุดปลายของห่วงโซ่อาหาร ด้วยเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อชนิดต่าง ๆ เช่น หมาป่า, หมาจิ้งจอก, แมวป่า, เสือชนิดต่าง ๆ, หมาใน, ชะมดและอีเห็น รวมถึงงูขนาดใหญ่ด้วย เช่น งูหลามและงูเหลือม [2] กระต่ายเป็นสัตว์ที่ผูกพันกับมนุษย์มาเป็นเวลานาน ด้วยการเป็นสัตว์ที่ถูกล่าเพื่อเป็นอาหารและเกมกีฬาโดยเฉพาะในแถบทวีปยุโรป ในเชิงวัฒนธรรมและความเชื่อ ชาวตะวันตกเชื่อว่า การพกขากระต่ายจะนำมาซึ่งโชคดี ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นเชื่อว่า กระต่ายเป็นเทพเจ้าแห่งดวงจันทร์ มีหน้าที่ปรุงยาอายุวัฒนะ เป็นสัตว์เลี้ยงของฉางเอ๋อ เทพธิดาแห่งดวงจันทร์ การมอบรูปลักษณ์ของกระต่ายจึงถือเป็นการมอบความปรารถนาให้โชควาสนาให้แก่กัน[3]
นอกจากนี้แล้วในทางโหราศาสตร์ กระต่ายยังเป็นตัวแทนของนักษัตรลำดับที่ 4 คือ ปีเถาะ ที่ใช้สัญลักษณ์เป็นกระต่าย [4]
ในปัจจุบัน กระต่ายได้กลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ทั้งในแง่ของการเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม และสัตว์เศรษฐกิจเพื่อรับประทานเนื้อ โดยกระต่ายชนิดที่นำมาพัฒนาสายพันธุ์จนเป็นสัตว์เลี้ยงนั้น โดยมากจะเป็นชนิด กระต่ายยุโรป (Oryctolagus cuniculus) ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในทวีปยุโรป[5] ซึ่งกระต่ายสายพันธุ์สวยงามนั้นก็มีด้วยกันหลากหลายมากมาย โดนยมีขนาดแตกต่างกันออกไปตามขนาดลำตัว อาทิ เนเธอร์แลนด์ดวอฟ, โปลิช แรทบิท, ฮอลแลนด์ลอป ซึ่งเป็นกระต่ายขนาดเล็ก และอิงลิชลอป ที่เป็นกระต่ายขนาดใหญ่ เป็นต้น
    ขอบคุณจา

ดอกไม้ประจำจังหวัด เชียงราย

ดอกไม้ประจำจังหวัด   เชียงราย
ชื่อสามัญ  Orange Trumpet, Flame Flower.
ชื่อวิทยาศาสตร์  Pyrostegia venusta., Miers
วงศ์  BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น
 

ลักษณะทั่วไป 
    ต้น   
พวงแสดเป็นพันธุ์ไม้เถาเลื้อยที่มีขนาดใหญ่พอสมควร เป็นไม้ที่มีใบกลายเป็นมือสำหรับยึดเกาะ  และสามารถเลื้อยเกาะไปได้ไกลมากกว่า 40 ฟุต เถาอ่อนจะเป็นสีเขียว และเมื่อแก่ก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล    ใบ    ลักษณะใบของพวงแสดจะเป็นใบประกอบ มี 3 ใบย่อย แต่จะมีบางใบที่เป็นคู่โดยใบย่อยที่สามที่อยู่ตรงกลางจะเปลี่ยนจากใบไปเป็นมือเกาะใบจะออกสลับกัน ใบมีสีเขียวเข้ม ก้านใบสั้นเกือบชิด กิ่งใบเป็นรูปไข่ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบไม่มีจัก ใบมีความกว้างประมาณ 2    เซนติ เมตร และยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร    ดอก  พวงแสดจะออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ และตามปลายกิ่งส่วนยอดดอกจะดกมากจนดูแน่นช่อมีกลีบรองดอกเป็นรูปถ้วย หรือรูปกระดิ่งหงายดอกเป็นรูปทรงกรวย เรียวยาว ปลายดอกจบานออกเป็น  4 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะงอโค้งลงข้างล่าง ดอกจะยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 4 อัน สั้นยาวไม่เท่ากัน คือจะสั้น 2 อันและยาวอีก 2 อัน มีเกสรตัวเมีย 1 อัน ซึ่งจะ อยู่ตรงกลาง เกสรตัวเมียมีสีตองอ่อน และจะยาวกว่าเกสรตัวผู้
ฤดูกาลออกดอก     พวงแสดจะออกดอก ช่วงเดือนธันวาคม - มีนาคม ของทุกปี
การปลุก     การปลูกพวงแสดทำได้โดยการ นำกิ่งที่ได้จากการปักชำ หรือการตอนกิ่งมาปลูกลงหลุม โดยขุดหลุมให้มีความกว้าง ลึก ประมาณ 2 x 1.5 ฟุต แล้วใส่ปุ๋ยหมักรองก้นหลุม แล้วผสมดินกับมูลสัตว์หรือขี้ค้างคาว คลุกให้เข้ากันใส่ลงในหลุมปลูก นำกิ่งที่จะปลูกวางลงกลางหลุมแล้วกลบดินรดน้ำให้ชุ่ม
การดูแลรักษา
   แสง 
  
พวงแสดเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้งที่ชองแสงแดดจัด และสามารถทนต่อความแห้งแล้งได้ดีพอสมควร   น้ำ     การให้ให้พวงแสด เมื่อต้นโตและแข็งแรงดีแล้ว ให้รดน้ำวันเว้นวันก็ได้ เพราะพวงแสดไม่ต้องการน้ำมาก   ดิน    ดินสำหรับปลูกพวงแสด ควรเป็นดินร่วนที่มีส่วนผสมของปุ๋ยธรรมชาติ เช่น มูลสัตว์หรืออื่นๆ อยู่บ้างก็จะทำให้พวงแสดเจริฐเติบโตได้ดี
   ปุ๋ย     ใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ในการผสมดินปลูก เช่น ขี้ค้างคาว เป็นต้น และเมื่อต้นโตใกล้ถึงช่วงออกดอกก็ให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สำหรับเร่งดอกบ้างตามสมควร
โรคและแมลง  ไมมีโรคและแมลงที่สำคัญ หรือโรคและแมลงที่ทำให้เกิดความเสียหายมากนัก การขยายพันธุ์   ปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม  ดินร่วน ไม่ต้องการน้ำมาก แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด   ประเทศบราชิลและอาเจนตินา
ขอบคุณจาก
http://www.panmai.com/Pvflower/fl_26.htm
http://www.maipradabonline.com/maileay/poungsad.htm

 

อาหารหลัก 5หมู่

                                              อาหารหลัก  5หมู่

        
      1. ประเภทแป้งหรือคาร์โบไฮเดรท
        ได้แก่ ธัญพืช เผือกมักล้วยนํ้าว้า ข้าวโพด น้ำตาล ขนมปัง น้ำอัดลมที่ปรุงเจือน้ำตาล ขนมและอาหารแปรรูปที่ทำจากธัญพืชทุกชนิด มีประโยชน์ทำให้ร่างกายมีกำลังหรือเกิดพลังงานให้ไตทำงานไม่พิการ ให้เลือดไม่เป็นพิษ 


        ประเภทไขมัน
         
        ได้แก่ไขมันสัตว์ ถั่วหลายชนิด (เว้นถั่วเหลือง) น้ำมันพืช เนย เนื้อ ไข่ มีประโยชน์ให้พลังความร้อน แต่ให้มากกว่าคาร์โบไฮเดรทถึง 2 เท่า 


        ประเภทโปรตีน
         
        ได้แก่ น้ำนม ปลา หอย ก้ง ปู ไข่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ เมล็ดพิช เช่น เมล็ดถั่วเหลือง ถั่วลิสง มีประโยชน์ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและให้พลังงาน และอาหารประเภทโปรตีนทั้งหมด ไข่เป็ด เนื้อสัน เครื่องในสัตว์ ถั่วเหลือง มีโปรตีนมากกว่าสิ่งอื่นที่ใกล้เคียงกัน 

        ประเภทเกลือแร่
        แบ่งออกได้เป็น 5 ชนิด คือ 
        ก. แคลเซี่ยม 
        มีในผักต่าง ๆ เช่น กะล่ำปลี ผักคะน้า แตงกวา มะเขือ มะระ ต้นหอม ต้นกระเทียม ฝักทอง พริก ไข่ กุ้งปูปลา นม เมล็ดพืช ช่วยสร้างกระดูกและฟัน ให้แข็งแรง ช่วยให้โลหิตแข็งตัว ควบคุมการเต้นของหัวใจ การหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อ 


        ข. ฟอสพอรัส
        มีในไข่ นม ปลา เมล็ดพืช ช่วยในการสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง 


        ค. เหล็ก 
        มีในเลือด ไข่ หอยนางรม ตับ เนื้อสันผักใบเขียว ถั่ว ช่วยในการสร้างเม็ดโลหิตแดง


        ง. โซเดียมและโปรตัสเซี่ยม
        มีในพืช ผัก อาหารทะเลเกลือ ช่วยในการรักษาระดับน้ำในเลือด และควบคุมภาวะการเป็นกรดหรือด่างของสารเคมีในร่างกาย

        จ. ไอโอดีน
        มีในอาหารทะเล เกลือ ช่วยควบคุมการทำงานของต่อมธัยรอยด์ ในการเผาผลาญให้อาหารเกิดประโยชน์แก่ร่างกาย ถ้าขาดจะเกิดโรคคอพอก



        ประเภทวิตามิน
        แบ่งออกได้เป็นหลายชนิด ดังนี้

        วิตามิน A.
        มีในน้ำมันตับปลา, นม, ครีม, เนย, ไข่แดง, ผัก, แตงโม, ผลไม้, ตับ, ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ช่วยรักษาเนื้อเยื้อของจมูก หู ตา ปาก และโพรงกระดูกให้แข็งแรง ช่วยระบบทางเดินอาหารและการหายใจ 



        วิตามิน B1
        มีในเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว, หอยนางรม, ผักสีเขียว, เนื้อสัน, เครื่องในสัตว์, ถั่ว, นม, ไข่, ผลไม้สด, กล้วยหอม, เงาะ, มะละกอสุก, ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยให้ระบบประสาททำงานตามปกติ ช่วยให้เกิดอยากอาหาร ช่วยการย่อยอาหาร ช่วยให้เกิดแรงไม่เหนื่อยง่าย 


        วิตามิน B2
        มีในเนื้อสัน, ตับ, ไข่, ผักสีเขียว, ผลไม้, เนยแข็ง, ถั่วลิสง, ช่วยให้ผิวพรรณ้้้้ผ่องใส ช่วยให้กล้ามเนื้อต่าง ๆ ทำงานประสานกันดีขึ้น ช่วยป้องกันไม่ให้ตาและผิวหนังอักเสบ 


        วิตามิน B4 
        มีมากในยอดกะถิน, ตับ, ไข่, นม, เนย, เมล็ดพืช, ผลไม้, ผักสีเขียว มีประโยชน์เหมือนวิตามิน B6


        วิตามิน B6
        มีในหัวใจ, เนื้อ, ปลา, กล้วยต่าง ๆ กระหล่ำปลี, ถั่วลิสง, มันเทศ, น้ำมันรำ ช่วยในการเปลี่ยนแปลงอาหารโปรตีนและกรมไขมันบางชนิด ช่วยในการเผาผลาญอาหาร รักษาผิวพรรณ 


        วิตามิน B12
        สกัดได้จากตับ ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง ซึ่งสืบเนื่องจากเมล็ดโลหิตแดงถูกทำลาย หรือกระดูกไขสันหลังย่อนสมรรถภาพในการผลิต โลหิตแดง มีในตับ, ผักสีเขียว, เนื้อ, เมล็ดพืช 

        วิตามิน C 
        มีในส้ม, มะนาว, มะเขือเทศ, ผักสดต่าง ๆ, พริกไทย, กล้วย, ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ไม่ค่อยปวดตามข้อ ทำให้อวัยวะในร่างกายต้านทานโรคดีขึ้น แต่วิตามินชนิดนี้ร่างกายเก็บเอาไว้ไม่ได้ ถูกทำลายได้ง่ายที่สุด เมื่อร่างกายถูกแสงแดดหรือความร้อน 

        วิตามิน D
        มีในปลาและตับปลา, เนื้อ, ไข่, เมล็ดธัญพืช, กล้วยตาก ช่วยให้ร่างกายใช้แคลเซี่ยมและฟอสฟอรัสให้มีประโยชน์ขึ้น สร้างกระดูกและฟัน


        วิตามิน E
        มีในเนื้อสัตว์, ไข่สัตว์, พืชสีเขียว, ถั่วงอก ช่วยป้องกันไม่ให้เป็นหมัน 



        วิตามิน E
        มีในผักสีเขียว, ไข่แดง, มะเขือเทศ, ตับ, ดอกกระหล่ำปลี, ผลไม้ต่างๆ ช่วยในการแข็งตัวของเลือดเวลาเกิดบาดแผล

        อาหารประเภทน้ำ 
        ช่วยในการย่อยอาหาร โดยทำให้อาหารอ่อนตัวลง ช่วยในการดูดซึมของลำไส้ ช่วยในการขับถ่ายของเสียจากร่างกาย ตลอดจนกากอาหารจากลำไส้ใหญ่ ช่วยให้ร่างกายสดชื่นและระบายความร้อน จึงควรดื่มน้ำสะอาด หรือน้ำสุกวันละมาก ๆ 



        การรับประทานในแต่ละมือไม่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารทั้งหมดทุกประเภท แต่ควรหมุนเวียน และรับประทานอาหารหลายๆประเภทเพื่อให้ได้คุณค่าต่างๆอย่างครบถ้วนค่ะ
         
        ขอบคุณจากBangkokHealth   

    สุนัขพันธุ์ชิวาว่า


                                                     สุนัขพันธุ์ชิวาว่า
    chihuahua emoลักษณะทั่วไป : ชิวาวาเป็นสุนัขขนาดเล็กที่มีความฉลาดและจงรักภักดีต่อเจ้าของมาก มีทั้งพันธุ์สั้นและขนยาว ชิวาวาพันธุ์ขนสั้นมีต้นกำเนิดมาจากสุนัขสายพันธุ์ดั้งเดิม ส่วนสายพันธุ์ขนยาวเพิ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาภายหลัง ชิวาวาเป็นสุนัขที่มีโครงสร้างกระชับสมสัดส่วน ดูสง่างาม คล่องแคล่วว่องไวและตื่นตัวตลอดเวลา กะโหลกมีลักษณะกลม ความยาวลำตัวมากกว่าความสูงเล็กน้อย จมูกและปากสั้น ปลายจมูกค่อนข้างแหลม จมูกมีสีเข้มเข้ากับขนลำตัว ใบหูมีขนาดใหญ่ปลายหูค่อนข้างแหลมตั้งขึ้น ตาโตแต่ไม่ยื่นโปนออกมา นัยน์ตามีสีดำสนิท

    chihuahua emoนิสัย : ชิวาวาเป็นสุนัขมีความฉลาดและจงรักภักดีต่อเจ้าของมา กเมื่อเทียบกับสุนัขพันธุ์อื่นๆ โดยปกติมักเป็นสุนัขที่เงียบสงบไม่ค่อยเห่าส่งเสียงร บกวน เว้นแต่จะถูกรบกวนหรือทำตกใจจึงจะเห่าเพื่อรักษาที่อ ยู่อาศัยของตัวเอง นอกจากนี้ยังมีนิสัยกล้าหาญมักจะยืนหยัดต่อสู้กับสุนัขตัวอื่นๆ ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กกว่า แต่ก็มีอัธยาศัยที่ดีกับสุนัขตัวอื่นหรือสัตว์เลี้ยง ชนิดอื่นๆ
    chihuahua emoขนาด :- ความสูง 16-20 (เซนติเมตร)
                 - น้ำหนักตัว 2.5-2.7 (กิโลกรัม)

    chihuahua emoขน :- ชิวาวาพันธุ์ขนสั้น เส้นขนควรมีลักษณะอ่อนนุ่มและแนบติดกับลำตัวขนเป็นมั นแวววาว หากชิวาวาตัวโต จะมีขนขึ้นดกหนากว่าปกติ เพราะมีขนชั้นในด้วยไม่ถือว่าผิดมาตรฐาน
    โดยปกติขนที่บริเวณลำตัวและคอ จะขึ้นหนาแน่นกว่าขนตามส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ส่วนขนที่บริเวณศีรษะและใบหูจะบางกว่าส่วนอื่น
    - ชิวาวาพันธุ์ขนยาว เส้นขนควรมีลักษณะอ่อนนุ่ม ขนเหยียดตรง หรือเป็นลอนเล็กน้อย แต่ห้ามหยิก ขนชั้นในจะมีหรือไม่มีก็ได้ ขนที่บริเวณใบหูจะต้องยาว แต่ถ้าขนยาวและดกมากหนาเกินไปจนห้อยปรกลงมาครอบใบหู ควรตัดเล็มออก
    สำหรับขนที่บริเวณขาอุ้งเท้า และบริเวณด้านหลังของสะโพกควรมีเส้นเล็กบาง ส่วนขนที่บริเวณลำคอและหางควรมีลักษณยาวและฟู

    chihuahua emoสี : ของขนที่บริเวณหางควร มีสีกลมกลืนกับสีของขนบนตัว
    - สำหรับชิวาวาขนสั้น ขนที่บริเวณหางควรมีลักษณะยาวและอ่อนนุ่มกว่าขนบนตัว
    - ส่วนชิวาวาพันธุ์ขนยาว ขนที่บริเวณหางควรมีลักษณะยาวและอ่อนนุ่ม

    chihuahua emoสี : ของขนที่บริเวณหางควร มีสีกลมกลืนกับสีของขนบนตัว
    - สำหรับชิวาวาขนสั้น ขนที่บริเวณหางควรมีลักษณะยาวและอ่อนนุ่มกว่าขนบนตัว
    - ส่วนชิวาวาพันธุ์ขนยาว ขนที่บริเวณหางควรมีลักษณะยาวและอ่อนนุ่ม
    chihuahua emoศีรษะ : กะโหลกศีรษะควรกลมคล้ายผลแอปเปิ้ลตั้งกลับหัว ผิวหนังตรงบริเวณกรามและแก้ม ควรตอบแนบติดกับกระดูก
    chihuahua emoหู : ใบหูควรมีขนาดใหญ่ ปลายหูค่อยข้างแหลม ในยามที่สุนัขเกิดความตื่นตัวหรือกำลังให้ความสนใจกั บสิ่งหนึ่งสิ่งใด ใบหูควรตั้งชัน แต่ในยามปกติใบหูทั้ง 2 ข้างควรตั้งถ่างออกจากกันโดยฐานใบหูทำมุมเฉียง 45 องศา กับกะโหลกศีรษะ สำหรับชิวาวาพันธุ์ขนยาว บริเวณหลังใบหูควรมีขนยาว ปกคลุมถ้าหากขนขึ้นที่ใบหูดกหนามากเกินไปอาจเล็มแต่เ พื่อความสวยงามไดแต่ถ้าใบหูห้อยปรกลงมาถือว่าบกพร่อง
    chihuahua emoตา : ตาโตแต่ไม่ควรยื่นโปนออกมามาก ตาทั้ง 2 ข้างควรมีขนาดเท่าๆกัน และตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ห่างจากกันในระดับพอเหมาะ นัยน์ตาควรมีสีดำสนิทส่องประกายแวววาว แต่สำหรับชิวาวาที่มีขนสีครีมออกเหลือง หากนัยน์ตามีสีจางอนุโลมได้ จมูก จมูกปากควรสั้น ปลายจมูกปากค่อนข้างกลม สีของจมูกควรมีสีเข้ากับสีของขนบนลำตัว สำหรับชิวาวาที่มีขนสีครีมออกเหลือง หากจมูกมีสีชมพูถือว่าพออนุโลมได้ซึ่งจุดนี้จะแตกต่า งจากสุนัขพันธุ์อื่นๆ เพราะโดยส่วนใหญ่ หากสุนัขมีจมูกสีชมพู ถือว่าเป็นข้อบกพร่องร้ายแรงมาก
    chihuahua emoฟัน : ฟันหน้าควรขนกันได้สนิทเหมือนกรรไกร โดยฟันบนเกยอยู่ด้านนอก แต่ถ้าฟันแถวล่างเกยอยู่ด้านนอก หรือฟันบนขบเกยอยู่ด้านนอก แต่ขบฟันล่างไม่สนิทหรือฟันขาด หรือฟันขึ้นไม่เป็นระเบียบล้วน ถือเป็นข้อบกพร่องร้ายแรงทั้งสิ้น
    chihuahua emoคอและหัวไหล่ : ลำคอควรมีลักษณะเป็นเส้นโค้งสวยงาม ลาดเทเข้าหาหัวไหล่เล็กน้อย สำหรับชิวาวาพันธุ์ขนสั้น ความสวยงามของลำคอถือเป็นเรื่องสำคัญมากเนื่องจากมอง เห็นได้อย่างชัดเจน เพราะไม่มีขนมาบดบัง ส่วนชิวาวาพันธุ์ขนยาว ขนที่บริเวณลำคอควรยาวแต่ไม่ถึงกับยาวและดกหนามาก หัวไหล่ที่ดีควรมีลักษณะราบเรียบและค่อยๆขยายออกกว้า ง รับกับขาหน้าทั้ง 2 ข้าง กระดูกหัวไหล่ควรลาดเทลงหาแผ่นหลัง
    chihuahua emoอก : ควรลึก และกว้าง แต่ไม่ต้องถึงกับเท่าพันธุ์บลูด็อก แผ่นหลังและลำตัวแผ่นหลัง ควรมีลักษณะเป็นเส้นตรงขนานกับพื้น ความยาวของลำตัวมีมากกว่าความสูงเล็กน้อย โดยปกติชิวาวาเพศผู้จะมีลำตัวที่สั้นกว่าเพศเมีย โครงสร้างลำตัวมีลักษณะค่อนข้างกลม ไม่แบน แต่ก็ไม่ถึงกลมเหมือนถังเบียร์
    chihuahua emoลำตัว : ครึ่งท่อนหลังจะต้องเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อ ข้อศอกขาหลังเวลายืนตั้งอยู่ห่างจากกันในระดับพอเหมา ะ ข้อศอกไม่ควรบิดเข้าหากัน เวลาที่สุนัขเดินหรือวิ่งแลดูแข็งแรง เท้าไม่ปัด
    chihuahua emoหาง : ต้องยาวพอเหมาะ หางควรตั้งและมีลักษณะโค้งคล้ายหางของสุนัขไทยหางดาบ ในกรณีที่สุนัขมีหางม้วน อนุโลมให้ปลายหางม้วนแตะแผ่นหลังได้ แต่ห้ามเลยระดับแผ่นหลังลงมา
    chihuahua emoขาและเท้า : ขาควรเหยียดตรงและตั้งขนานกัน อุ้งเท้าควรมีขนาดเล็ก นิ้วเท้าแยกออกจากกัน แต่ไม่ถึงกับกางแบะออกเหมือนตีนเป็ด อุ้งเท้าคล้ายกับอุ้งเท้าของสุนัขพันธุ์บลูด็อก ซึ่งจะแตกต่างจากอุ้งเท้าของสุนัขพันธุ์อื่นๆ ซึ่งโดยมากมีอุ้งเท้ากระชับ
    chihuahua emoสี : สีขนอาจมีได้หลายสี ไม่มีข้อจำกัด อาจเป็นสีเดียวกันทั้งตัวหรืออาจมีมาร์คกิ้งหรือสีด่ างก็ได้ สีขนมีได้ไม่จำกัด อาจเป็นสีเดียวทั้งตัวหรือมี มาร์คกิ้งหรือมีสีต่างๆก็ได้
        ขอบคุณจาก:www//chihuahua.in.th



    ประวัตฺิวงโปงลาง

                                         ประวัติวงโปงลาง

    โปงลาง  นั้นก่อนที่จะเรียกว่าโปงลาง มีชื่อเรียกว่า เกราะลอ ซึ่ง เกราะลอ มีประวัติโดยย่อ คือ ท้าวพรหมโคตร ซึ่งเคยอยู่ประเทศลาวมาก่อนเป็นผู้คิดทำเกราะลอขึ้น โดยเลียนแบบเกราะ ที่ใช้ในหมู่บ้านสมัยนั้น เกราะลอทำด้วยไม้หมากเลื่อม (ไม้เนื้ออ่อน สีขาว มีเสียงกังวาล )ใช้เถาวัลย์มัดร้อยเรียงกัน ใช้ตีไล่ฝูงนกกา ที่มากินข้าวในไร่นา ต่อมาท้าวพรหมโคตร ได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านกลางเหมือน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และได้ถ่ายทอดการตีเกราะลอให้แก่นายปาน นายปานได้เปลี่ยนเกราะลอ จาก ๖ ลูก เป็น ๙ ลูก มี ๕ เสียง คือ โด เร มี ซอล ลา เมื่อนายปานเสียชีวิต นายขานน้องนายปาน ได้รับการถ่ายทอดการตี เกราะลอ และนายขานนี่เองที่เป็นผู้ถ่ายทอดการตีเกราะลอให้ นายเปลื้อง ฉายรัศมี เนื่องจากเกราะลอใช้สำหรับตีไล่นกกา ที่มากินข้าวในไร่นา ดังนั้น จึงมีเกราะลออยู่ทุกโรงนา (อีสานเรียกเถียงนา) เมื่อเสร็จจากภารกิจในนาแล้ว ชาวนาจะพักผ่อนในโรงนา และใช้เกราะลอเป็นเครื่องตี เพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ โดยเกราะลอนี้จะตีนอกหมู่บ้านเท่านั้น เพราะมีความเชื่อว่า ถ้าตีในหมู่บ้านจะเกิดเหตุการณ์ไม่ดี เช่น ฝนจะไม่ตกตามฤดูกาล เป็นต้น การเรียนการตีเกราะลอในสมัยนั้น เป็นการเลียนแบบ คือ เป็นการเรียนที่ต้องอาศัยความจำ โดยการจำทำนองในแต่ละลาย เกราะลอที่มี ๙ ลูกนี้ จะเล่นได้ ๒ ลาย คือ ลายอ่านหนังสือใหญ่ และลายสุดสะแนน
    ปี พ.ศ. ๒๔๙๐นายเปลื้อง ได้เรียนวิธีทำเกราะลอ และการตีเกราะลอ จากนายขาน ลายที่ตี คือ ลายภูไทใหญ่ หรือลายอ่านหนังสือใหญ่ นอกจากนั้น นายเปลื้องยังเป็นคนแรกที่นำเกราะลอมาตีในหมู่บ้านเป็นคนแรก ในปีแรกนั้นการตีเกราะลอไม่เป็นที่ประทับใจคนฟังเท่าใดนัก ๒ ปีต่อมาการตีเกราะลอของนายเปลื้องจึงดีขึ้น จนชาวบ้านพากันนิยมว่าตีดี
    ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ นายเปลื้องได้วิวัฒนาการ การทำเกราะลอจากแต่ก่อนหน้านี้ที่ทำด้วยไม้หมากเลื่อม มาเป็นไม้หมากหาด(มะหาด,หาด) ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง เวลาตีแล้วไม่บวมง่าย โดยเฉพาะไม้ที่ตายยืนต้น เสียงจะกังวาล ที่เอาไม้หมากหาดมาทำโปงลางนี้ นายเปลื้องได้รับแนวคิดจากพระที่วัด ที่นำไม้นี้มาทำโปงที่ตีบอกเหตุ หรือที่ตีให้สัญญาณ ต่อมานายเปลื้องได้คิดทำเกราะลอเพิ่ม จาก ๙ ลูก เป็น ๑๒ ลูก เมื่อทำสำเร็จลองตีดูเห็นว่าเสียงเพราะมาก ดังนั้นใน ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ นายเปลื้องจึงเพิ่มลูกเกราะจาก ๑๒ ลูกมาเป็น ๑๓ ลูก และเพิ่มเสียงจาก ๕ เสียงเป็น ๖ เสียง คือ เสียง โด เร มี ฟา ซอล ลา(ส่วนเสียงทีนั้น ดนตรีอีสานจะไม่ค่อยพบเสียงนี้เท่าใดนัก จึงไม่เพิ่มเสียงนี้ไว้) และได้คิดลายใหม่เพิ่ม เป็น ๕ ลาย คือ ลายอ่านหนังสือใหญ่ ลายอ่านหนังสือน้อย ลายสุดสะแนน ลายสร้อย และได้เปลี่ยนชื่อ เกราะลอ มาเป็น โปงลาง ซึ่งได้เรียกชื่อดนตรีชนิดนี้มาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
    ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ นายเปลื้องซึ่งสนใจและศึกษาโปงลาง หรือ เกราะลอเดิม มาตั้งแต่อายุ ๑๔ ปี ตั้งแต่การเล่นนอกหมู่บ้านและนำมาเล่นในหมู่บ้าน และเคยรับงานแสดงในเทศกาลต่างๆ แต่การเล่นมักจะเป็นการเล่นเดี่ยวเท่านั้น นายเปลื้องจึงเกิดแนวความคิดว่า ดนตรีอีสานมีหลายอย่างด้วยกัน หากนำมาบรรเลงด้วยกันคงจะมีความไพเราะและเร้าใจมากขึ้น จึงได้รวมเพื่อนๆ ตั้งวงโปงลางขึ้น โดยนำเอา ซอ พิณ แคน กลอง หมากกั๊บแก้บ ไห มาร่วมกันบรรเลง และได้รับความสนใจจากผู้ที่ได้รับชมเป็นอันมาก
    ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ นายเปลื้อง ได้พบกับนายประชุม อินทรตูล ซึ่งเป็นป่าไม้อำเภอเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์ นอกจากจะมีเครื่องดนตรีและเครื่องประกอบจังหวะแล้ว ยังมีรำประกอบอีกด้วย รำในขณะนั้นก็มีรำโปงลาง รำซวยมือ รำภูไท เป็นต้น วงโปงลางกาฬสินธุ์ได้รับความนิยมตลอดมา และได้มีการบันทึกเทปขายให้กับผู้สนใจอีกด้วย โปงลาง   เป็นเครื่องดนตรีที่มีถิ่นกำเนิดจากจังหวัดกาฬสินธุ์จึงเป็นความภาคภูมิใจของคนกาฬสินธุ์ทุกคนที่มีเครื่องดนตรีเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด  มีประวัติความเป็นมา  ดังนี้ 
       ผู้ที่ทำโปงลางคนแรกคือ   ท้าวพรหมโคตรโดยดัดแปลงมาจาก เกราะลอ ที่ผู้ใหญ่บ้านใช้ตีเวลาเรียกประชุม โดยนำเอาเกราะลอที่ทำจากไม้เหลื่อม นำมามัดเรียงกัน ด้วยเถาวัลย์ มีลูกอยู่  6 ลูก  5 เสียง ได้แก่เสียง  ซอล  ลา โด เร มี  เพื่อตีไล่ฝูงนก กา ที่มาจิกกินข้าวในนา   ต่อมาท่านได้ถ่ายทอดการทำเกราะลอให้นายปาน ต่อมานายปาน เสียชีวิต นายขาน ซึ่งเป็นน้องชายได้สืบทอดการตีเกราะ-ลอแทน พอนายขาน แก่ชราก็ได้สืบทอดให้นายเปลื้องฉายรัศมี
           นายเปลื้องได้นำไม้มะหาดมาทำแทนไม้เหลื่อม  เพราะไม้มะหาดเวลาตี
    ไม่บวมง่าย  และได้เพิ่มลูกเกราะลอ จาก  6 ลูก เป็น 9 ลูก และเป็น 12,13 ลูก ตามลำดับ มีเสียงดนตรีครบ  7  เสียงและมีสียงต่ำ สูงครบแบบดนตรีสากลพร้อมกับคิดบรรเลงลายใหม่เพิ่มขึ้น คือ ลายอ่านหนังสือใหญ่ ลายอ่านหนังสือ-น้อย  ลายสุดสะแนน  ลายสร้อย เปลี่ยนชื่อจาก  เกราะลอ มาเป็น โปงลาง  จนถึงปัจจุบัน
       
        ขอขอบคูณจาก:/www.trueplookpanya.com