การปฐมพยาบาล | |||||
การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ | |||||
ณ สถานที่เกิดเหตุ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่จะหาได้ในขณะนั้น ก่อนที่ผู้บาดเจ็บจะได้รับการดูแลรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือส่งต่อไปยังโรงพยาบาล | |||||
การปฐมพยาบาลมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ | |||||
1. เพื่อช่วยชีวิต 2. เพื่อเป็นการลดความรุนแรงของการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย 3. เพื่อทำให้บรรเทาความเจ็บปวดทรมาน และช่วยให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว 4. เพื่อป้องกันความพิการที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลังการปฐมพยาบาลแบบต่าง ๆ | |||||
การใช้ผ้าสามเหลี่ยม ( Triangular bandages) | |||||
การใช้ผ้าสามเหลี่ยม เมื่อมีบาดแผลต้องใช้ผ้าพันแผล ซึ่งขณะนั้นมีผ้าสามเหลี่ยม | |||||
สามารถใช้ผ้าสามเหลี่ยมแทนผ้าพันแผลได้ โดยพับเก็บมุมให้เรียบร้อย และก่อนพันแผลต้องพับผ้าสามเหลี่ยมให้มีขนาดเหมาะสมกับบาดแผล และอวั ยวะ | |||||
1. การคล้องแขน (Arm sling) | |||||
ในกรณีที่มีกระดูกต้นแขนหัก หรือกระดูกปลายแขนหัก เมื่อตกแต่งบาดแผล | |||||
และเข้าเฝือกชั่วคราวเรียบร้อยแล้ว จะคล้องด้วยผ้าสามเหลี่ยมตามลำดับดังนี้ | |||||
1.1 วางผ้าสามเหลี่ยมให้มุมยอดของสามเหลี่ยมอยู่ใต้ข้อศอกข้างที่เจ็บ | |||||
ให้ชายผ้าด้านพบพาดไปที่ไหล่อีกข้างหนึ่ง | |||||
1.2 จับชายผ้าด้านล่างตลบกลับขึ้นข้างบน ให้ชายผ้าพาดไปที่ไหล่ข้างเดียว | |||||
กับแขนข้างที่เจ็บ | |||||
1.3 ผูกชายทั้งสองให้ปมอยู่ตรงร่องเหนือกระดูกไหปลาร้า | |||||
1.4 เก็บมุมสามเหลี่ยมโดยใช้เข็มกลัดติดให้เรียบร้อย | |||||
2. การพันมือ ใช้กรณีที่มีบาดแผลที่มือ ทำตามลำดับดังนี้ | |||||
2.1 วางมือที่บาดเจ็บลงบนผ้าสามเหลี่ยม จับมุมยอดของผ้าสามเหลี่ยม | |||||
ลงมาด้านฐานจรดบริเวณข้อมือ | |||||
2.2 ห่อมือโดยจับชายผ้าทั้งด้านซ้ายและขวาไขว้กัน | |||||
2.3 ผูกเงื่อนพิรอดบริเวณข้อมือ | |||||
กลับสู่ข้างบน | |||||
แผลงูพิษกัด | |||||
1. ดูรอยแผล ถ้างูไม่มีพิษแผลจะเป็นรอยถลอก ให้ทำแผลแบบ แผลถลอก | |||||
แล้วถ้าแผลไม่ลุกลามหรือไม่มีอาการอื่น ไม่ต้องไปหาหมอ แผลจะหายเอง ถ้างูมีพิษจะมีรอยเขี้ยว 1 หรือ 2 จุด ให้รักษาตามข้อ 2-7 | |||||
2. พูดปลอบใจอย่าให้กลัวหรือตกใจ, ให้นอนนิ่งๆ, ถ้าจำเป็นให้เคลื่อนไหวน้อยที่สุด | |||||
3. ห้ามให้ดื่มเหล้า ยาดองเหล้า หรือยากล่อมประสาท | |||||
4. ห้ามใช้มีดกรีดปากแผล ห้ามบีบเค้นบริเวณแผล เพราะจะทำให้แผลช้ำ | |||||
สกปรก และทำให้พิษกระจายเร็วขึ้น. | |||||
5. ห้ามขันชะเนาะรัดแขนหรือขา เพราะจะเกิดอันตรายมากขึ้น | |||||
6. รีบพาไปหาหมอ, ถ้าเป็นไปได้ควรนำซากงูที่กัดไปด้วย | |||||
7. ถ้าหยุดหายใจ ให้ เป่าปากช่วยหายใจ | |||||
กลับสู่ข้างบน | |||||
ผงเข้าตา | |||||
ห้ามขยี้ตา , รีบลืมตาในน้ำสะอาด , และกลอกตาไปมาหรือเทน้ำให้ไหลผ่านตา | |||||
ที่ถ่างหนังตาไว้ ถ้ายังไม่ออก ให้คนช่วยใช้มุมผ้าเช็ดหน้าที่สะอาดเขี่ยผงออกถ้าไม่ออก ควรรีบไปหาหมอ | |||||
กลับสู่ข้างบน | |||||
บาดแผล | |||||
- แผลตื้นหรือแผลมีดบาด (เลือดออกไม่มาก) | |||||
1. บีบให้เลือดชะเอาสิ่งสกปรกออกมาบ้าง | |||||
2. ถ้ามีฝุ่นผงหรือสกปรก ต้องล้างออกด้วยน้ำสุกกับสบู่ | |||||
3. ใส่ ทิงเจอร์ใส่แผลสด หรือ น้ำยาโพวิโดนไอโอดีน | |||||
4. พันรัดให้ขอบแผลติดกัน | |||||
5. ควรทำความสะอาดแผลและเปลี่ยนผ้ากอซวันละ 1 ครั้ง จนกว่าแผลจะหาย | |||||
ความดันต่ำ หน้ามืด เวียนศีรษะ | |||||
1. ถ้ามีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง, ปวดท้องหรืออาเจียนรุนแรง, ถ่ายอุจจาระดำ, | |||||
ใจหวิวใจสั่น, ชีพจรเต้นเร็ว, เหงื่อแตกท่วมตัว, หรือลุกนั่งมีอาการเป็นลม ต้องไปหาหมอโดยเร็ว. | |||||
2. ถ้าไม่มีอาการในข้อ 1 ให้ปฏิบัติดังนี้ | |||||
2.1 ให้นอนลงสักครู่ แล้วลุกขึ้นใหม่โดยลุกช้าๆ อย่าลุกพรวดพราด เช่น ค่อยๆ | |||||
ลุกจากท่านอน เป็นท่านั่ง แล้วนั่งพักสักครู่ ขยับและเกร็งขาหลายๆ ครั้ง, แล้วค่อย ๆ ลุกขึ้นยืน, ยืนนิ่งอยู่ สักครู่ แล้วจึงค่อยเดิน | |||||
2.2 ถ้ายังมีอาการให้กินยาหอม หรือกดจุด | |||||
3. ถ้าเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ควรไปหาหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุ | |||||
. ถ้ามีอาการวิงเวียน เห็นบ้านหมุน ดูเรื่อง วิงเวียน เห็นบ้านหมุน | |||||
การป้องกัน ให้ออกกำลังกายเพิ่มขึ้นทีละน้อย, นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ, และดื่มน้ำมาก ๆ | |||||
กลับสู่ข้างบน | |||||
สุนัขกัด | |||||
1. ให้รีบทำแผลทันที โดยล้างแผลด้วยน้ำสะอาด, ฟอกสบู่หลายๆ ครั้ง, | |||||
แล้วชะแผลด้วย แอลกอฮอล์ หรือ ทิงเจอร์ใส่แผลสด หรือ น้ำยาโพวิโดนไอโอดีน | |||||
2. รีบพาไปหาหมอ เพื่อพิจารณาฉีดยาป้องกันบาดทะยัก, ฉีดยาป้องกันโรคกลัวน้ำ | |||||
และใช้ ยาปฏิชีวนะ | |||||
กลับสู่ข้างบน | |||||
การห้ามเลือด | |||||
ถ้าบาดแผลเล็ก กดปากแผลด้วยผ้าสะอาด แล้วพันให้แน่น | |||||
2. ถ้าบาดแผลใหญ่ เลือดออกพุ่ง ทำตามข้อ 1 แล้วเลือดยังไม่หยุด ใช้ผ้า เชือก | |||||
หรือสายยางรัดเหนือแผล(ระหว่างบาดแผลกับหัวใจ) ให้แน่นพอที่เลือดหยุดไหลเท่านั้น โดยอวัยวะส่วนปลายไม่เขียวคล้ำ หรือถ้าเป็นเลือดพุ่งออกมาจากปลายหลอดเลือดที่ขาดอยู่ ให้ใช้ก้อนผ้าเล็กๆ กดลงตรงนั้นเลือดจะหยุดได้ | |||||
3. ยกส่วนที่มีเลือดออกให้สูงไว้ | |||||
กลับสู่ข้างบน | |||||
เป็นลม | |||||
1. ถ้าเป็นลมหมดสติ และหยุดหายใจ , หรือชัก , หรือเป็นลมอัมพาต | |||||
(ส่วนหนึ่งส่วนใดของ ร่างกายอ่อนแรงทันที), หรือเป็นลมแน่นอกหรือจุกอก จนหายใจไม่ออก, หรือมีอาการรุนแรง อื่น ต้องไปหาหมอโดยเร็ว. | |||||
2. ถ้าเป็นลมหน้ามืด อาจหมดสติจนไม่รู้สึกตัวได้โดยก่อนเป็นลมหน้ามืด | |||||
อาจใจหวิวใจสั่น หรือเวียนศีรษะแล้วหมดแรงฟุบตัวลงกับพื้น (มักจะไม่ล้มฟาด) - ให้นอนหงายลงกับพื้น ( ศีรษะไม่หนุนหมอน) แขนขาเหยียด ใช้หมอนหรือสิ่งอื่นรองขา และเท้าให้สูงกว่าลำตัว | |||||
- คลายเสื้อผ้าให้หลวมออก เอาฟันปลอมและของในปากออก - พัดโบกลมให้ถูกหน้าและลำตัว ห้ามคนมุงดู. - ให้ดมยาหม่องหรือยาดมอื่นๆ หรือกดจุด - ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำอุ่นเช็ดหน้า และบีบนวดแขนขา | |||||
ถ้าไม่ดีขึ้นใน 30 นาที ให้ไปหาหมอ | |||||
การป้องกัน | |||||
- รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เช่น กินอาหารและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ | |||||
ออกกำลังกาย สม่ำเสมอ | |||||
- หลีกเลี่ยงชนวนที่ทำให้เป็นลมหน้ามืด เช่น ที่แออัดอบอ้าว | |||||
3. ถ้าเป็นลมแน่นท้อง เรอลมบ่อยๆ ผายลมบ่อยๆ | |||||
- ดื่มน้ำร้อน ๆ หรือน้ำขิง/ข่า/กระชาย (อย่างใดอย่างหนึ่ง) | |||||
- กินยาลดกรด ยาขับลม | |||||
การป้องกัน | |||||
- อย่ากินอาหารจนอิ่มมาก และหลีกเลี่ยงอาหารที่เกิดลมง่าย เช่น นม ถั่ว | |||||
อาหารที่ย่อยยาก อาหารค้างหรือเริ่มบูด เป็นต้น | |||||
- พูดหรือร้องเพลงให้น้อยลง - จิบน้ำบ่อยๆ เพื่อไม่ให้กลืนลมโดยไม่รู้ตัว - ผ่อนคลายความเครียดลง ดูเรื่องกังวล-เครียด | |||||
กลับสู่ข้างบน | |||||
เลือดกำเดาไหล | |||||
1. ให้นั่งนิ่งๆ, หงายศีรษะไปด้านหลัง พิงพนักหรือผนัง,หรือนอนหนุนไหล่ | |||||
ให้สูงแล้วหงายศีรษะพิงหมอน | |||||
2. ปลอบใจให้สงบใจ ให้หายใจยาวๆ (ยิ่งตื่นเต้นตกใจ เลือดยิ่งออกมาก) | |||||
3. ใช้นิ้วมือบีบจมูกทั้ง 2 ข้างให้แน่น โดยให้หายใจทางปากแทน | |||||
หรือใช้ผ้าสะอาดม้วนอุดรูจมูกข้างนั้น หรือ กดจุด | |||||
4. วางน้ำแข็งหรือผ้าเย็นบนสันจมูก หน้าผาก และใต้ขากรรไกร | |||||
5. ถ้าเลือดไม่หยุด รีบพาไปโรงพยาบาล | |||||
6. ถ้ามีเลือดกำเดาออกบ่อย ควรปรึกษาหมอ, อาจเป็นความดันเลือดสูง | |||||
หรือโรคอื่น ๆ ได้ | |||||
กลับสู่ข้างบน | |||||
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย | |||||
วิธีที่ 1 อุ้มและยก เหมาะสำหรับผู้ป่วยรายในรายที่ไม่รู้สึกตัว แต่ไม่ควรใช้ | |||||
ในรายที่มีการบาดเจ็บของลำตัว หรือกระดูกหัก | |||||
ภาพการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีอุ้มและยก | |||||
วิธีที่ 2 นั่งบนมือทั้งสี่ที่จับประสานกันเป็นแคร่ เหมาะสำหรับผู้ป่วยในรายที่ขาเจ็บ | |||||
แต่รู้สึกดีและสามารถใช้แขนทั้งสองข้างได้ | |||||
วิธีเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือทั้งสองคนใช้มือขวากำข้อมือซ้ายของตนเอง | |||||
ขณะเดียวกันก็ใช้มือซ้ายกำมือขวาซึ่งกันและกัน ให้ผู้ป่วยใช้แขนทั้งสองยันตัวขึ้นนั่งบนมือทั้งสี่ที่จับประสานกันเป็นแคร่ แขนทั้งสองของผู้ป่วยโอบคอผู้ช่วยเหลือ จากนั้นวางผู้ป่วยบนเข่าเป็นจังหวะที่หนึ่ง และอุ้มยืนเป็นจังหวะที่สอง แล้วจึงเดินไปพร้อมๆ กัน | |||||
ภาพการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีนั่งบนมือทั้งสี่ที่ประสานกันเป็นแคร่ | |||||
วิธีที่ 3 การพยุงเดิน วิธีนี้ใช้ในรายที่ไม่มีบาดแผลรุนแรง หรือกระดูกหัก | |||||
และผู้บาดเจ็บยังรู้สึกตัวดี | |||||
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีพยุงเดิน | |||||
กลับสู่ข้างบน | |||||
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยผู้ช่วยเหลือสามคน | |||||
วิธีที่ 1 อุ้มสามคนเรียง เหมาะสำหรับผู้ป่วยในรายที่ไม่รู้สึกตัว ต้องการอุ้มขึ้น | |||||
วางบนเตียงหรืออุ้มผ่านทางแคบ ๆ | |||||
วิธีเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือทั้งสามคนคุกเข่าเรียงกันในท่าคุกเข่าข้างเดียว | |||||
ทุกคนสอดมือเข้าใต้ตัวผู้ป่วย และอุ้มพยุงไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายดังนี้ | |||||
คนที่ 1 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ตัวผู้ป่วยตรงบริเวณคอและหลังส่วนบน | |||||
คนที่ 2 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ตัวผู้ป่วยตรงบริเวณหลังส่วนล่างและก้น | |||||
คนที่ 3 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ขา | |||||
ผู้ช่วยเหลือคนที่อ่อนแอที่สุดควรเป็นคนที่ 3 เพราะรับน้ำหนักน้อยที่สุด | |||||
เมื่อจะยกผู้ป่วยผู้ช่วยเหลือทั้งสามคน จะต้องทำงานพร้อมๆ กัน โดยให้คนใดคนหนึ่งเป็นออกคำสั่ง ขั้นแรก ยกผู้ป่วยพร้อมกันและวางบนเข่า จากท่านี้เหมาะสำหรับจะยกผู้ป่วยขึ้นวางบนเปลฉุกเฉินหรือบนเตียง แต่ถ้าจะอุ้มเคลื่อนที่ผู้ช่วยเหลือทั้งสามคน จะต้องประคองตัวผู้ป่วยในท่านอนตะแคง และอุ้มยืน เมื่อจะเดินจะก้าวเดินไปทางด้านข้างพร้อมๆ กัน และถ้าจะวาง ผู้ป่วยให้ทำเหมือนเดิมทุกประการ คือ คุกเข่าลงก่อนและค่อย ๆ วางผู้ป่วยลง | |||||
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีอุ้มสามคนเรียง | |||||
วิธีที่ 2 การใช้คน 3 คน วิธีนี้ใช้ในรายที่ผู้บาดเจ็บนอนหงาย หรือ นอนคว่ำก็ได้ | |||||
ให้คางของผู้บาดเจ็บยกสูงเพื่อเปิดทางเดินหายใจ | |||||
1. ผู้ปฐมพยาบาล 2 คนคุกเข่าข้างลำตัวผู้บาดเจ็บข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่ง | |||||
ผู้ปฐมพยาบาลอีก 1 คน คุกเข่าข้างลำตัวผู้บาดเจ็บ | |||||
2. ผู้ปฐมพยาบาลคนที่ 1 ประคองที่ศีรษะและไหล่ผู้บาดเจ็บ มืออีกข้างหนึ่ง | |||||
รองส่วนหลังผู้บาดเจ็บ | |||||
้3. ผู้ปฐมพยาบาลคนที่ 2 อยู่ตรงข้ามคนที่ 1 ใช้แขนข้างหนึ่งรองหลังผู้บาดเจ็บ | |||||
เอามือไปจับมือคนที่ 1 อีกมือหนึ่งรองใต้สะโพกผู้บาดเจ็บ | |||||
4. ผู้ปฐมพยาบาลคนที่ 3 มือหนึ่งอยู่ใต้ต้นขาเหนือมือคนที่ 2 ที่รองใต้สะโพก | |||||
แล้วเอามือไปจับกับมือคนที่ 2 ที่รองใต้สะโพกนั้น ส่วนมืออีกข้างหนึ่งรองที่ขาใต้เข่า | |||||
5. มือคนที่ 1 และคนที่ 2 ควรจับกันอยู่ระหว่างกึ่งกลางลำตัวส่วนบนของผู้บาดเจ็บ | |||||
ผู้ปฐมพยาบาลจะต้องให้สัญญาณลุกขึ้นยืนพร้อม ๆ กัน | |||||
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีใช้คน 3 คน | |||||
กลับสู่ข้างบน | |||||
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้ผ้าห่ม | |||||
ใช้กรณีที่ไม่มีเปลหามแต่ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณหลัง | |||||
วิธีเคลื่อนย้าย พับผ้าห่มตามยาวทบกันเป็นชั้น ๆ 2-3 ทบ | |||||
โดยวิธีการพับผ้าห่มพับเช่นเดียวกับการพับกระดาษทำพัด วางผ้าห่มขนาบชิดตัวผู้ป่วยทางด้านข้าง ผู้ช่วยเหลือคุกเข่าลงข้างตัวผู้ป่วยอีกข้างหนึ่ง จับผู้ป่วยตะแคงตัวเพื่อให้นอนบนผ้าห่ม แล้วดึงชายผ้าห่มทั้งสองข้างออก เสร็จแล้วจึงม้วนเข้าหากัน จากนั้นช่วยกันยกตัวผู้ป่วยขึ้น ผู้ช่วยเหลือคนหนึ่งต้องประคองศีรษะผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่สงสัยว่า ได้รับบาดเจ็บที่คอหรือหลัง | |||||
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้ผ้าห่ม | |||||
กลับสู่ข้างบน | |||||
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้เปลหาม | |||||
เปลหรือแคร่มีประโยชน์ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย อาจทำได้ง่ายโดยดัดแปลงวัสดุ | |||||
การใช้เปลหามจะสะดวกมากแต่ยุ่งยากบ้างขณะที่จะอุ้มผู้ป่วยวางบนเปลหรืออุ้มออกจากเปล | |||||
วิธีการเคลื่อนย้าย | |||||
เริ่มต้นด้วยการอุ้มผู้ป่วยนอนราบบนเปล จากนั้นควรให้ผู้ช่วยเหลือคนหนึ่ง | |||||
เป็นคนออกคำสั่งให้ยกและหามเดิน เพื่อความพร้อมเพรียงและนุ่มนวล ถ้ามีผู้ช่วยเหลือสองคน คนหนึ่งหามทางด้านศีรษะ อีกคนหามทางด้านปลายเท้าและหันหน้าไปทางเดียวกัน ซึ่งหมายความว่าผู้ช่วยเหลือที่หามทางด้านปลายเท้าจะเดินนำหน้า หากมีผู้ช่วยเหลือ 4 คน ช่วยหาม อีก 2 คน จะช่วยหามทางด้านข้างของเปลและหันหน้าเดินไปทางเดียวกัน | |||||
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้เปลหาม | |||||
วัสดุที่นำมาดัดแปลงทำเปลหาม | |||||
1. บานประตูไม้ | |||||
2. ผ้าห่มและไม้ยาวสองอัน วิธีทำเปลผ้าห่ม ปูผ้าห่มลงบนพื้นใช้ไม้ยาวสองอัน | |||||
ยาวประมาณ 2.20 เมตร | |||||
- อันที่ 1 สอดในผ้าห่มที่ได้พับไว้แล้ว | |||||
- อันที่ 2 วางบนผ้าห่ม โดยให้ห่างจากอันที่ 1 ประมาณ 60 ซม. จากนั้น | |||||
พับชายผ้าห่มทับไม้อันที่ 2 และอันที่ 1 ตามลำดับ | |||||
การใช้ผ้าห่มมาดัดแปลงทำเปลหามผู้ป่วย | |||||
3. เสื้อและไม้ยาว 2 อัน | |||||
นำเสื้อที่มีขนาดใหญ่พอๆกันมาสามตัว ติดกระดุมให้เรียบร้อย ถ้าไม่แน่ใจ | |||||
ว่ากระดุมจะแน่นพอให้ใช้เข็มกลัดซ่อนปลายช่วยด้วย แล้วสอดไม้สองอันเข้าไปในแขนเสื้อ | |||||
การใช้เสื้อมาดัดแปลงทำเปลหาม ขอบคุณจาก:
|
Translate
วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557
การปฐมพยาบาล
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น