Translate

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

ชนิดเมฆ (Cloud Type)


ชนิดเมฆ (Cloud Type)

ชนิดของเมฆ เป็นสัญญาณที่สำคัญของกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศ เมฆชี้ให้เห็นถึงอากาศชื้นที่กำลังเคลื่อนตัวสูงขึ้น และอาจจะมีหยาดน้ำฟ้าเกิดขึ้นได้ เมฆมักให้สัญญาณว่าสภาพอากาศจะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น เมฆที่มีฐานเมฆสีเทา-ดำ มักจะทำให้เกิดฝนตก
การเรียกชื่อเมฆ
การเรียกชื่อเมฆจะเรียกตามระดับความสูงและลักษณะรูปร่างของก้อนเมฆ ซึ่งเมฆสามารถแบ่งตามระดับความสูง (Altitude) ของฐานเมฆ (Cloud Base) ได้ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่
1. เมฆระดับสูง เรียกว่า เซอร์โร (Cirro) หรือเซอร์รัส (Cirrus) ในบริเวณแถบโซนร้อนจะอยู่ที่ความสูง 6,000 - 18,000 เมตร (20,000 - 60,000 ฟุต) ขึ้นไป จึงทำให้เห็นเมฆชนิดนี้มีขนาดเล็กกว่าเมฆชนิดอื่นๆ ส่วนใหญ่จะมีสีขาวหรือเทาอ่อน และเกิดขึ้นในบรรยากาศที่คงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก เป็นเมฆซึ่งไม่ทำให้เกิดฝน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเกล็ดน้ำแข็ง
2. เมฆระดับกลาง เรียกว่า อัลโต (Alto) ในบริเวณแถบโซนร้อนจะอยู่ที่ความสูงระหว่าง 2,000 - 8,000 เมตร (6,500 -26,000 ฟุต) มีส่วนประกอบหลักคือ หยดน้ำ และมีน้ำแข็งบางส่วน แสงอาทิตย์ส่องผ่านเมฆชนิดนี้ได้
3. เมฆระดับต่ำ เรียกว่า สตราโต (Strato) อยู่ใกล้ผิวโลกมากที่สุด ในบริเวณแถบโซนร้อนจะอยู่ที่ความสูงไม่เกิน 2,000 เมตร (ผิวพื้น - 6,500 ฟุต) จะสามารถมองเห็นว่ามีขนาดใหญ่กว่าเมฆชนิดอื่นๆ เมฆในกลุ่มนี้อาจจะมีสีดำและเป็นสีเทามากกว่าเมฆในระดับกลางและระดับสูง
เมฆแบ่งตามลักษณะรูปร่าง
เมฆแบ่งตามลักษณะรูปร่างได้ 2 แบบ คือ
1. เมฆก้อน เรียกว่า คิวมูโล (Cumulo) หรือคิวมูลัส (Cumulus) มีลักษณะเป็นก้อนรวมตัวกันคล้ายปุยฝ้ายหรือดอกกะหล่ำ
2. เมฆแผ่น เรียกว่า สตราโต (Strato) หรือสตราตัส (Stratus) มีลักษณะเป็นแผ่นแบนแผ่คล้ายแผ่นสำลี
นอกจากนี้ เรายังเรียกเมฆที่มีฐานเมฆสีเทา-ดำ ทำให้เกิดฝนตกว่า นิมโบ (Nimbo) หรือ นิมบัส (Nimbus)
cloud
ตารางแสดงลักษณะเมฆก้อน เมฆแผ่น และเมฆฝน
ดังนั้น เมฆสามารถแบ่งออกได้เป็น 10 ชนิด ตามระดับความสูงและรูปร่างของเมฆ ดังนี้
cloud-chart1

ขอบคุณ ข่าวจาก สสวท. (IPST News)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น